มาพูดกันถึงเรื่องการ ‘แบน’ กันบ้างดีกว่า ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเราเท่านั้นที่มีการจำกัด หรือคัดกรอง ภาพยนตร์ หรือวิดีโอเกมส์เท่านั้น แต่ในหลายๆประเทศก็มีการใช้นโยบายจำกัดเกมส์ ที่ดูแล้วมันไม่เหมาะสม หรือเนื้อหารุนแรงจนเกินไป
#เหมียวบ็อบ เลยขอพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ 11 วิดีโอเกมส์ ที่ถูกสั่งห้ามในประเทศต่างๆ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีเกมส์อะไรที่เข้าข่ายนี้บ้าง
Bully
เกมส์ที่ผู้เล่นจะได้สวมบทบาทเป็นนักเรียนเกเรที่ชื่อว่า ‘Jimmy’ พร้อมกับภารกิจแกล้งเด็กเนิร์ด หรือทำเรื่องห่ามๆในโรงเรียน
เกมส์นี้ถูกแบนจากประเทศบราซิล รวมถึงในอังกฤษก็ถูกนำออกจากชั้นวางขายเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า เกมส์นี้อาจสร้างแรงจูงใจให้คนทำตามตัวละครในเกมส์ เหมือนกับกรณีของ ‘GTA’ นั่นแหละ
Fallout 3
รับประกันได้เลยว่า ใครที่เคยเล่นเกมส์นี้ ส่วนใหญ่ก็มักจะติดใจกันไปทุกราย ดูๆ แล้วมันก็สนุกดี และไม่น่าจะถูกแบนได้ แต่ทว่าในประเทศออสเตรเลีย เกมส์นี้ถูกจัดให้อยู่ในประเภท MA15+ (สำหรับอายุ 15 ปีขึ้นไป) และเกมส์ไหนที่ไม่ถูกระเบียบตามข้อบังคับ ก็จะถูกสั่งห้ามวางจำหน่ายไปโดยปริยาย
อีกทั้งในเกมส์ยังมีการใช้สารเสพติดที่ชื่อว่า Med-X ซึ่งเดิมทีมันก็คือ ‘มอร์ฟีน’ นั่นแหละ อย่างที่เรารู้ๆ กันว่ามันคือสารตั้งต้นของ ‘เฮโรอีน’ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ต้องมีการแบนเกมส์นี้เกิดขึ้น
Battlefield 3
เนื่องจากเหตุการณ์ในภาคนี้ มีการบุกโจมตีเข้าไปในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน และแน่นอนว่าทางการของอิหร่านจึงสั่งแบนเกมส์นี้ทันที
แต่นั่นก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตแต่อย่างใด เพราะทาง EA ก็ไม่คิดที่จะวางขายเกมส์ภาคนี้ในอิหร่านอย่างเป็นทางการ หรือผ่านตัวแทนจำหน่ายอยู่แล้ว
Manhunt 1 และ 2
อีกหนึ่งเกมส์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหด และภาพที่เต็มไปด้วยความรุนแรง เนื้อหาเกมมีภารกิจให้เราไปตามฆ่าคน ถึงแม้ว่าเกมส์นี้จะถูกให้อยู่ในเรต 18+ และเคยวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์เด็กอายุ 14 ถูกเพื่อนที่เล่นเกมส์นี้เอาค้อนทุบหัวจนเสียชีวิต โดยได้แรงบันดาลใจมาจากในเกมส์นี้ ทำให้ทางการอังกฤษสั่งแบนทันที
Wolfenstein
เป็นอย่างที่เรารู้กันดีว่า หลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการเยอรมันสั่งแบนทุกสิ่งอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคนาซี
และแน่นอนว่าเกมส์นี้ จะพาเราย้อนกลับไปในยุคที่นาซีได้ครองโลกจริงๆ และเต็มไปด้วยเครื่องหมายสวัสดิกะ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เกมส์นี้จะถูกแบนทันที ในประเทศเยอรมนี
Left 4 Dead ภาค 2
อันเนื่องมาจากออสเตรเลีย เป็นประเทศที่ค่อนข้างจะเข้มงวดกับเกมส์ที่มีเนื้อหารุนแรงมากเป็นพิเศษ และแน่นอนว่าเกมส์นี้เต็มไปด้วยการยิง ซอมบี้ล้างผลาญอย่างเมามันส์ มีเลือดและชิ้นส่วนกระเด็นกระดอนไปทั่วทั้งแผนที่
จึงทำให้เกมส์นี้ถูกแบนไปเป็นเวลานานกว่า 5 ปี กว่าที่จะได้เรท R18+ ถึงจะได้วางขายในที่สุด
Marc Ecko’s Getting Up: Contents Under Pressure
ถึงแม้ว่าเกมส์นี้จะไม่ได้มีเนื้อหารุนแรง หรือเลือดสาดเหมือนที่ผ่านๆมา แต่เนื้อหาของเกมส์คือการออกเดินทาง สร้างผลงานศิลปะตามท้องถนน หรือที่เรียกกันว่า ‘กราฟฟิตี้’
ด้วยเหตุผลที่ว่า อาจเป็นการส่งเสริมให้คนออกไปพ่นสีกำแพงตามตึก อาคาร โดยที่ไม่ได้รับอนุญาติ ทางการออสเตรเลีย (อีกแล้ว) จึงสั่งแบนเกมส์นี้ทันที
Mad World
อีกหนึ่งเกมส์โหดที่มีเนื้อหาให้ผู้เล่นฆ่าคนได้อย่างเมามันส์ เพื่อความบันเทิงของชนชั้นสูง เกมส์นี้ถูกแบนในประเทศเยอรมนี และวางขายล่าช้าในญี่ปุ่น อีกทั้งในอังกฤษก็ให้เรทเกมส์นี้สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
นอกจากนั้นสื่อต่างๆยังออกมาส่งเสริม และเห็นพ้องให้แบนเกมส์นี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการส่งเสริมความรุนแรงอย่างแท้จริง
Silent Hill: Home Coming
เนื่องจากเกมส์นี้เต็มไปด้วยภาพฉากที่ดูโหดร้าย และมีการใช้อาวุธที่น่ากลัวอย่างสว่าน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ประเทศออสเตรเลีย สั่งแบนเกมส์นี้ทันที
Pokemon
ไม่น่าเชื่อว่าเกมส์ที่มีเนื้อหาน่ารัก มุ้งมิ้ง และไม่มีเลือดให้เราเห็นซักหยดอย่างโปเกม่อน จะถูกแบนได้ โดยประเทศที่สั่งแบนเกมส์นี้ก็คือ ซาอุดิอาราเบีย
ทางการให้เหตุผลว่า มีการแลกเปลียนเกมการ์ดในชีวิตจริง เสมือนว่าเป็นการส่งเสริมการพนันทางอ้อม อีกทั้งยังมีสัญลักษณ์ต่างๆในเกมส์ที่ขัดต่อ หลักศาสนาอิสลาม และทางการก็อ้างอีกด้วยว่าเกมส์นี้เป็นการโปรโมทของกลุ่ม Zionism ซึ่งเป็นกลุ่มชาวยิวที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศอิสลามอีกด้วย
Rapeley
อย่างที่เรารู้ๆกันว่า ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเกมส์ที่ทำออกมาเพื่อตอบสนองความสยิวกิ้วในแบบ 18+ มากมาย และเกมส์นี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่เราจะได้สวมบทบาทไปข่มขืนผู้หญิง!!
ด้วยเหตุนี้เองทางการของประเทศอาร์เจนติน่า จึงได้สั่งแบนเกมส์นี้ทั้งที อีกทั้งในส่วนของ UN ก็ได้ออกมาขอความร่วมมือให้ญี่ปุ่นแบนเกมส์ที่มีเนื้อหาประเภทนี้อีกด้วย
แต่ทว่าทางการญี่ปุ่นได้ตอบกลับไปว่า ทั้งหมดเป็นเนื้อเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และไม่มีเหตุผลที่จะแบนตามคำขอ…
แต่ละประเทศก็มีกฏ ระเบียบแตกต่างกันออกไป ซึ่งอันที่จริงแล้วก็เป็นหน้าที่ของผู้เล่นเองด้วยแหละ ที่จะต้องมีวิจารณญาณพอแยกแยะความจริง และความสนุกจากการเล่นเกมส์ได้
ที่มา: Grunge
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น