CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักโบราณคดีพบภาชนะโบราณอายุร่วม 1,400 ปี ในระหว่างการฟื้นฟูวิหารในติวานากู

ลึกเข้าไปในแหล่งโบราณคดีของติวานากูในประเทศโบลิเวีย พื้นที่อันเป็นที่ตั้งของมหาวิหารขนาดใหญ่ และกำแพงหินมีชื่ออย่างพูมาพันกู ทีมนักโบราณคดีในพื้นที่ได้ทำการค้นพบภาชนะโบราณจำนวนมาก ซึ่งชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุมากถึง 1,400 ปี

 

 

วัตถุโบราณเหล่านี้ถูกค้นพบในพื้นที่ใจกลางของวิหารคาลาซาซายา โบราณสถานใกล้ๆ ทะเลสาบติติกากา ห่างออกไปจากเมืองลาปาซราวๆ 75 กิโลเมตร ในระหว่างที่ทีมนักโบราณคดีทำการเข้าศึกษาโบราณสถานภายใต้โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูขององค์การยูเนสโก

โดยในโครงการนี้ กลุ่มนักโบราณคดี 4 กลุ่มและนักวิจัยอีกร่วม 50 ชีวิต ได้เข้ามาในพื้นที่เพื่อทำการฟื้นฟูตัววิหาร ก่อนที่หลังจากทำงานไปได้ราวๆ  15 วัน พวกเขาจะค้นพบวัตถุโบราณที่มีการรายงานเข้า

 

 

ภาชนะโบราณที่พบโดยมากแล้วทำขึ้นจากเครื่องปั้นดินเผา และถูกฝังเอาไว้โดยเรียงเป็นวงกลม ซึ่งคุณ Mary Luz Choque ผู้ช่วยนักโบราณคดีแห่งศูนย์สืบสอนทางโบราณคดีเทียฮัวนาโค อธิบายว่ามันเป็นลักษณะการเลี้ยงภาชนะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในกรณีที่ตัวภาชนะถูกใช้ในฐานะเครื่องบูชาในงานศพของชนชั้นสูงในสมัยนั้น

 

 

อ้างอิงจากนักโบราณคดี เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ เชื่อกันว่าเคยถูกใช้งานในช่วงยุคสมัยที่ชื่อ ทิวานากู 3 หรือราวๆ ปี ค.ศ. 400-600 และมีบางชิ้นที่ยังคงมีความสมบูรณ์มากพอที่จะเห็นสัญลักษณ์รูปปลาหรือนกบนตัววัตถุโบราณเลย

 

 

คุณ Julio Condori ผู้อำนวยการศูนย์โบราณคดีบอกว่าการค้นพบเหล่านี้จะสามารถทำให้เราเข้าใจถึงหน้าที่และการทำงานของวิหารคาลาซาซายาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และมันอาจจะทำไปสู่การนิยามหน้าที่ใหม่ของพื้นที่ใจกลางเมือง ในการใช้ชีวิตทางพิธีกรรมและศาสนาของคนในจักรวรรดิทิวานากูได้ไม่ยาก

 

 

แต่ก่อนที่นักโบราณคดีจะได้มีโอกาสเขียนรายงานการค้นพบในครั้งนี้อย่างละเอียด ในปัจจุบันเหล่าทีมสำรวจก็ยังคงต้องมีการดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูวิหารคาลาซาซายาให้เสร็จสิ้นเสียก่อน โดยหากการทำงานเป็นไปตามกำหนด พวกเขาก็หวังว่าการทำงานจะจบลงได้ภายในราวๆ 6 สัปดาห์ข้างหน้า

 

ที่มา ancient-origins, abcnews


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น