ในปัจจุบัน การที่เราจะตัดต่อภาพอะไรสักภาพนั้น ถือว่าเป็นอะไรที่ทำได้ง่ายมากเพียงแค่เปิดโปรแกรมเท่านั้น ซึ่งต่างจากในอดีตที่การถ่ายภาพมีข้อจำกัดสูง ทำให้หลายๆ คนมักจะเชื่อว่านอกจากเรื่องการจัดฉากแล้ว ภาพขาวดำในอดีต ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งได้ขนาดนั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่กับภาพในอดีตเองเราก็จะสามารถเห็นการตัดแต่งภาพกันได้เป็นเรื่องปกติกว่าที่เราคิด เนื่องจากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นข้อจำกัดในอดีตนั้น หากนำไปประยุกต์ใช้ให้ดี มันก็จะสามารถนำมาใช้ราวกับเป็นการตัดต่อภาพได้ไม่ยากเลย
ไม่เชื่อก็ลองไปชมภาพตัดต่อในอดีตทั้ง 17 ภาพต่อไปนี้ดูสิ
เรามาเริ่มกันจากภาพ “Cloud Study, Light-Dark” (1856-1857) ของ Gustave Le Gray
ภาพนี้เกิดขึ้นจากการใช้ภาพถ่ายเนกาทีฟ 2 ภาพ (ท้องฟ้ากับทะเล) มาต่อกันที่เส้นขอบฟ้าก่อนจะจัดสมดุลระดับแสงใหม่
“Two-Headed Man,” (ราวๆ ปี 1855) ไม่ทราบผู้ถ่าย
ภาพนี้ เชื่อว่าถ่ายขึ้นโดยอาศัยความช้าของชัตเตอร์กล้องในอดีต โดยให้นายแบบเอียงศีรษะไปอีกด้านระหว่างการจับภาพ
“Aberdeen Portraits No. 1,” (1857) โดย George Washington Wilson
ภาพนี้สร้างขึ้นโดยอาศัยฟิล์มสีเนกาทีฟของยอดมืออาชีพร่วมร้อยภาพ รวมกันขึ้นมาเป้นภาพถ่ายขนาดใหญ่ภาพเดียว
“Fading Away,” (1858) โดย Henry Peach Robinson
สร้างขึ้นจากการตัดต่อฟิล์มสีเนกาทีฟของภาพ 5 ภาพ
“Spirit” (1901) โดย John K. Hallowell
ถ่ายขึ้นโดยอาศัยเทคนิคชื่อ “Double exposure” หรือไม่ก็การตัดซ้อนทับแผ่นฟิล์ม ทำให้เกิดภาพคล้ายภาพถ่ายติดวิญญาณอย่างที่เห็น
“Man juggling his own head,” (ราวๆ ปี 1880) ไม่ทราบชื่อผู้ถ่าย
คาดว่าใช้เทคนิคการตัดแปะศีรษะจากภาพอื่นในการถ่าย
“The Vision (Orpheus Scene),” (1907) โดย F. Holland Day
ถ่ายไว้ด้วยเทคนิคควบคุมการถ่ายภาพ เพื่อให้ภาพออกมาคล้าย “ออร์ฟีอัส” นักดีดพิณผู้เก่งกาจในตำนานกรีก
“General Grant at City Point” (1902) โดย Levin Corbin
ถ่ายไว้โดยรวมภาพ 3 ภาพเข้าด้วยกัน โดยได้ส่วนหัวจาก จอมพลยูลิสซีส เอส. แกรนต์ ม้าและตัวจากนายพลอเล็กซานเดอร์ แมคโดเวลล์และฉากหลังจากค่ายนักโทษสมาพันธรัฐอเมริกาในช่วงสงครามกลางเมือง
“Colorado Springs, Colorado” (1913) โดย William Henry Jackson และศิลปินที่ไม่ทราบชื่อจาก Detroit Publishing Company
“A powerful collision” (1914) โดยศิลปินชาวเยอรมันไม่ทราบชื่อ
นี่เป็นโปสการ์ดรูปทหารเยอรมันบดขยี้ศัตรูจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
“Dirigible docked on Empire State Building, New York” (1930) โดยศิลปินชาวอเมริกาไม่ทราบชื่อ
จะสังเกตเห็นร่องรอยการตัดต่อได้จากรอยสีดำคล้ายรอยเปื้อนรอบๆ เรือเหาะ
“Room with eye” โดย Maurice Tabard เมื่อปี 1930
ภาพชายยืนขาเดียวบนอาคารพร้อมแบกคน 11 คนไว้บนไหล่จากปี 1930
“Dream No. 1: Electrical Appliances for the Home” โดย Grete Stern เมื่อปี 1948
“Lenin and Stalin in Gorki in 1922” โดยศิลปินไม่ทราบชื่อ
ทั้งสองคนพบกันจริงๆ แต่ในภาพนี้มีการตัดต่อผิวของสตาลินให้มีน้ำมีนวล และเพิ่มความยาวแขนซ้ายของเขา
ภาพเหมือนที่ได้ชื่อว่ามีชื่อเสียงที่สุดของลินคอล์น แท้จริงแล้วไม่ใช่ภาพของลินคอล์นจริงๆ
กลับกันมันเป็นการตัดต่อภาพของ John Calhoun นักการเมืองอีกคนมาใส่ศีรษะของลินคอล์น เนื่องจากตัวลินคอล์นเองไม่มีภาพที่ “ดูเป็นวีรบุรุษ”
และภาพ “Christmas Card” (1950) จาก Angus McBean
ชายคนนี้เป็นศิลปินผู้ขึ้นชื่อเรื่องการตัดแต่งภาพ เพื่อใช้เป็นการ์ดวันคริสต์มาส และศีรษะที่เห็นในภาพก็เป็นของเขาเองไม่ใช่ใครอื่น
ที่มา rarehistoricalphotos
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น