มันเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาพสีขาวดำจากในอดีตนั้น เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวที่อธิบายได้ยาก ถึงอย่างนั้นก็ตามในบางครั้ง มันก็คงจะต้องมีสักช่วงเวลา ที่เราจะคิดอยากชมภาพเก่าๆ ในรูปแบบที่มีสีสันขึ้นมา
ดังนั้น มันเป็นเรื่องที่โชคดีมากที่ในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยี และเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ ภาพถ่ายในอดีตจำนวนมากมายหลายภาพ จึงได้ถูกนำมาลงสีอีกครั้งอย่างประณีตและเชี่ยวชาญ จนทำให้เรามีโอกาสที่จะได้เห็นว่าภาพเก่าๆ เหล่านี้ จะมีสีสันแบบไหน หากกล้องในอดีตสามารถจับภาพแบบมีสีได้จริงๆ
เรามาเริ่มกันจากภาพของ Olive Oatman หญิงสาวผู้ถูกลักพาตัวไปโดยชาวพื้นเมืองอเมริกัน เมื่อปี 1851 กับรอยสักที่ปากและคางซึ่งเธอได้มาระหว่างการจองจำ
ภาพของประธานาธิบดีอับราฮัมลินคอล์น ในสนามรบที่รัฐแมริแลนด์ เมื่อปี 1862
ทหารแอฟริกัน-อเมริกัน จากฝั่งสหภาพ ในช่วงสงครามกลางเมืองเมื่อปี 1864
ภาพถ่ายครึ่งตัวของมาริลีน มอนโร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นภาพที่มี “น้ำใสใจจริง” ที่สุดของเธอที่เคยถ่าย
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในปี 1921
Robert McGee กับแผลเป็นที่ได้มาตอนอายุ 13 ปีจากการเกือบถูกถลกหนังด้วยมือของอินเดียนแดงเผ่าซู
โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์แกนนำฝ่ายพลเรือนของพรรคนาซี ทำการคารวะแบบนาซี พร้อมๆ กับลูกสาว ในปี 1937
อัล คาโปน หลังจากถูกจับกุมขณะ พยายามจะเข้าเมืองไมอามี ฟลอริดา เมื่อปี 1930
บัพฟาโล บิลล์ วีรบุรุษคาวบอย กับ “นักแสดง” ของเขา จากเผ่าพาวนี และเผ่าซู เมื่อปี 1886
เรือเหาะ “ฮินเดนบูร์ก” ลุกเป็นไฟในแมนเชสเตอร์ 1937
ทหารแอฟริกัน-อเมริกัน ถ่ายภาพคู่กับกระสุนปืนใหญ่ ในสงครามโลกครั้งที่สอง (ปี 1944)
ภาพการแสดงเป็นซามูไรผู้ทำพิธีคว้านท้อง เมื่อช่วงปี 1880-1890
อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรีย และภรรยา ไม่นานก่อนการลอบสังหารและเปิดฉาก สงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 1914
ชายหญิงในตรอกที่รู้จักกันในชื่อ “Bandit’s Roost” (ที่พักโจร) ที่แมนฮัตตันเมื่อประมาณปี 1887-1890
บรรยากาศในบาร์ กับการฉลอง ยกเลิกการห้ามสุราในสหรัฐเมื่อปี 1933
ทหารม้าชาวอังกฤษ ฝึกการโจมตีด้วยดาบปลายปืนให้กับทหารอเมริกัน
กลุ่มทาสที่เป็นอิสระระหว่างการเดินทางหาชีวิตใหม่ หลังสงครามกลางเมือง
นักดับเพลิงในลอนดอนกับหมวกป้องกันในปี 1908
อัลเฟรด ฮิทช์ค็อก ระหว่างกำกับการแสดงภาพยนตร์ชิ้นเอกเรื่อง The Birds เมื่อปี 1963
และทหารโซเวียตระหว่างการรบที่เลนินกราด 1943
ที่มา allthatsinteresting
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น