ในช่วงเวลาที่โรคโควิด-19 กำลังโด่งดังและกลายเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลกเช่นนี้ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะจะต้องได้ยินเรื่องราวและความเชื่อที่ไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไหร่นัก เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก
เรื่องเหล่านี้ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ฝ่ายต้องออกมาพยายามปรับความเข้าใจผู้คนใหม่กันอยู่เสมอๆ และในบางครั้งก็สร้างความตื่นกลัวอย่างไม่จำเป็นเสียด้วย
ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยแก้ไขความเข้าใจผิด และตอบคำถามในใจของหลายๆ คน ในวันนี้ #เหมียวศรัทธา จึงจะพาเพื่อนๆ ไปชม 8 ความเชื่อเกี่ยวกับโรค COVID-19 ที่นักวิทยาศาสตร์ออกมาบอกแล้วว่า ไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างไร
ความเชื่อที่ 1 : การใส่หน้ากากป้องกันเราจากไวรัสได้ 100%
ข้อนี้เชื่อว่าบางคนอาจจะทราบกันแล้ว แต่ใช่ว่าหน้ากากทุกชิ้นจะช่วยป้องกันเราจากโรค COVID-19 ได้จริงๆ เพราะหน้ากากบางชนิดอย่างหน้ากากผ้า แท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้ช่วยป้องกันโรคเลยด้วยซ้ำ แถมต่อให้เราใส่หน้ากากทางการแพทย์จริงๆ เชื้อโรคตัวนี้ก็ยังอาจสามารถเล็ดลอดเข้ามาตามช่องว่างของหน้ากากได้อยู่ดี
ถึงอย่างนั้นก็ตามการใส่หน้ากาก สุดท้ายแล้วก็ยังถือเป็นเรื่องที่ดีต่อเราอยู่ดี เพราะไม่เพียงแต่มันจะสามารถช่วยลดการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยสู่คนอื่นๆ ได้ แต่หากหน้ากากดังกล่าวเป็นหน้ากาก N95 เราก็มีงานวิจัยที่ออกมาช่วยยืนยันแล้วว่าหน้ากากนี้ช่วยลดการแพร่กระจายของโรค COVID-19 ได้ดีในระดับที่น่าพอใจ แม้จะไม่ 100% ก็ตาม
ความเชื่อที่ 2 : โรค COVID-19 ติดยากกว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาเยอะ
อ้างอิงจากการคำนวณความยากง่ายในการแพร่กระจายของไวรัสหรือ “R0” ไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 นั้นมีค่า R0 อยู่ที่ราวๆ 2.2 หรือหมายถึงผู้ติดเชื้อหนึ่งคนจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ได้ราวๆ 2.2 คนโดยเฉลี่ย
ซึ่งทั้งนี้เองโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา จะมีค่า R0 อยู่ที่ 1.3 เท่านั้น ซึ่งหากมองจากข้อมูลในจุดนี้ โรค COVID-19 ต่างหาก ที่ติดต่อกันง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาเยอะ
ความเชื่อที่ 3 : ไวรัสตัวนี้อาจถูกสร้างขึ้นในห้องแล็บ
นี่นับว่าเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว แต่ก็เป็นแนวคิดที่ไม่มีหลักฐานใดๆ เช่นกัน แถมกลับกันในปัจจุบันเรายังมีหลักฐานจำนวนมากที่ยืนยันความคล้ายคลึงกันระหว่างไวรัส SARS-CoV-2 กับ โคโรนาไวรัสอื่นๆ ที่เคยระบาดในช่วงหลายสิบปีก่อนด้วย
ดังนั้นมันจึงมีโอกาสเป็นไปได้สูงกล่าวมากที่ไวรัสตัวนี้จะเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสจนทำให้มันติดต่อมาสู่คนได้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโคโรนาไวรัสทั้งหมดมีจุดร่วมเดียวกันอย่าง “ค้างคาว” แล้วด้วย
ความเชื่อที่ 4 : ติดโคโรนาไวรัสแล้ว นี่ฉันต้องตายแน่เลย
นี่ก็ไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องเท่าไหร่นักเช่นกัน เพราะ 81% ของคนที่ติดโรคนี้ล้วนแต่ติดไวรัสเพียงแค่ในระดับไม่รุนแรง ในขณะที่ 13.8% มีอาการป่วยหนักอย่างหายใจถี่หรือต้องการออกซิเจนเสริม และมีเพียงแค่ 4.7% เท่านั้นซึ่งอยู่ในขั้นโคม่า (อ้างอิงจากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์)
ซึ่งในบรรดาคนเหล่านี้ จนถึงในปัจจุบันมีผู้ป่วยโคโรนาไวรัสเพียงแค่ราวๆ 2.3-3.4% เท่านั้น ที่จะเสียชีวิตเพราะโรคดังกล่าวจริงๆ
ความเชื่อที่ 5 : สัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรค COVID-19 ได้
ด้วยความที่ว่าเรามีข่าวสุนัขติดโคโรนาไวรัส “ระดับต่ำ” จากเจ้าของได้ ความกลัวในจุดนี้จึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับที่เราเคยตรวจพบโรคซาร์สในสัตว์เมื่อปี 2003 สัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการของโรคด้วยซ้ำ และในปัจจุบันเราก็ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าสัตว์เลี้ยงที่ติดไวรัสไปจะสามารถนำไวรัสไปแพร่กระจายสู่มนุษย์ต่อด้วย
แต่ถึงจะเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้นก็ตาม การป้องกันไว้ก่อนก็ย่อมดีกว่าแก้ที่หลัง กรมควบคุมโรคในหลายๆ ประเทศจึงแนะนำให้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 หาคนดูแลสัตว์เลี้ยงแทนเวลาที่ตนป่วย เนื่องจากสัตว์เลี้ยงบางชนิดสามารถติดโรคจากคนได้นั่นเอง
ความเชื่อที่ 6 : ถ้าฉันติดโคโรนาไวรัสเดี๋ยวฉันก็รู้ตัวเองล่ะ
ปัญหาคือโรค COVID-19 นั้นมีอาการที่หลากหลายและความรุนแรงที่อาจจะแตกต่างกันได้หลายขั้น แถมอาการหลายๆ อย่างยังมีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดา ดังนั้นตามปกติมันจึงเป็นเรื่องที่บอกได้ยากว่าสิ่งที่เรากำลังเป็น เป็นแค่ไข้หวัดหรือโรค COVID-19 กันแน่
ที่สำคัญคือในหลายๆกรณีผู้ที่ติดโรคนี้ในช่วงแรกๆ ยังไม่แสดงอาการอะไรใดๆ เลยด้วย ดังนั้นหากคุณมีอาการที่คล้ายกับว่าเป็นโรค COVID-19 อย่างไข้สูง อ่อนเพลีย ซึม หรือหายใจถี่ การเข้าปรึกษาแพทย์ก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า
ความเชื่อที่ 7 : การรับเพิ่มวิตามินซีเพิ่มช่วยป้องกันโรค COVID-19 ได้
ในปัจจุบันนักวิจัยยังไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าอาหารเสริมวิตามินซีสามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้ แถมว่ากันตามตรงสำหรับหลายๆ คนแล้วการทานวิตามินซียังช่วยป้องกันไข้หวัดธรรมดาไม่ได้เลยด้วยซ้ำ
ดังนั้นแม้ว่าวิตามินซีจะเป็น วิตามินที่ดีต่อร่างกายก็ตามแต่มันก็ไม่ได้ช่วยป้องกันเชื้อ COVID-19 อย่างที่คิด กลับกันการทานวิตามินซีมากไปยังเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุด้วย (เพราะวิตามินส่วนเกินจะถูกขับทิ้ง)
ด้วยเหตุนี้หากมีคนมาโฆษณาว่าน้ำมะนาวโซดาป้องกันโรคอย่าง COVID-19 ได้ ก็อย่าเพิ่งเชื่อคำพูดนี้ให้มากนักจะดีกว่า
ความเชื่อที่ 8 : มันไม่ใช่เรื่องปลอดภัยที่จะรับพัสดุจากจีนในช่วงนี้
ยกเว้นว่าสิ่งที่คุณสังจากจีนจะเป็นตัวอย่างไวรัสที่ถูกลักลอบน้ำออกมานอกประเทศ การรับพัสดุหรือจดหมายจากจีนถือว่าเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่าที่คิด นั่นเพราะโคโรนาไวรัสตามปกติแล้วจะเอาชีวิตรอดได้ไม่นานนักบนพื้นผิวของจดหมายหรือพัสดุ
ซึ่งหากเราเทียบกับเวลากว่าที่พัสดุจะส่งออกจากจีนมาแล้ว เราก็แทบจะกล่าวได้ว่าพัสดุเกือบทุกชนิด มีความเสี่ยงเหลืออยู่แค่ในระดับต่ำเตี้ยเรี่ยดินแล้ว
ที่มา livescience
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น