CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

กฎระเบียบใหม่ในอะแลสกา อนุญาตให้นายพรานเข้าไป “ล่าลูกหมี” ได้ถึงในถ้ำของพวกมัน

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการอนุมัติข้อระเบียบใหม่ในรัฐอะแลสกา ‘อนุญาตให้นายพรานสามารถเข้าไปล่าลูกหมีได้ถึงในถ้ำของพวกมัน’

 

 

จากรายงานกล่าวว่ากฎระเบียบใหม่นี้มีความขัดแย้งกับกฎระเบียบเดิมในปี 2015 ที่ไม่อนุญาตให้นายพรานสามารถล่าหมีดำและลูกๆ ของพวกมันได้ รวมถึงไม่สามารถใช้อาหารมนุษย์เป็นเหยื่อล่อหมีสีน้ำตาลก็ด้วย

กฎหมายที่ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี เป็นเหมือนการแสดงออกให้เห็นว่าภาครัฐมีความต้องการที่จะปกป้องทุกชีวิตในผืนป่า แต่ทว่ากฎหมายใหม่ที่เพิ่งมีการอนุมัตินี้กลับแสดงถึงเจตจำนงที่ตรงกันข้ามอย่างมาก

 

 

Jesse Prentice-Dunn ผู้อำนวยการขององค์กรอนุรักษ์ Center for Western Priorities มองว่ากฎระเบียบใหม่นี้คือสิ่งที่โหดร้ายทารุณอย่างหาที่เปรียบไม่ได้เลย

เธอยังบอกด้วยว่าที่ภาครัฐอนุมัติข้อระเบียบนี้ก็เพื่อต้องการจะหนุนหลังบริษัทน้ำมัน รวมถึงการล่าสัตว์เพื่อความบันเทิง

ขณะเดียวกัน Dan Sullivan สมาชิกวุฒิสภาอะแลสกา กล่าวว่าข้อระเบียบใหม่นั้นมีขึ้นตามหลักการความเหมาะสม และมีขึ้นเพื่อสิทธิของผู้คนภายในรัฐ

 

 

Tanana Chiefs Conference หน่วยงานในอะแลสกา พวกเขาก็ยังได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ความสมดุลทางสุขภาพและสังคมของชนพื้นเมืองเป็นเรื่องสำคัญ และการล่าสัตว์ก็ถือเป็นหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนเหล่านั้น

ถึงอย่างนั้นทางบล็อก Athabascan Woman ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การล่าสัตว์ถือเป็นวัฒนธรรมสำหรับชนพื้นเมืองในอะแลสกาจริง แต่ปัจจุบันโลกของเราได้เปลี่ยนไปแล้ว

“จริงอยู่ที่ว่ายังคงมีการล่าสัตว์ ตกปลา หาอาหารต่างๆ แต่ปัจจุบันเราสามารถเก็บอาหารไว้ได้นาน อาจหาซื้อของจำเป็นแทนการออกไปล่าด้วยตัวเองก็ได้ รวมถึงความเชื่อบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดขนาดนั้น”

 

 

สำหรับข้อระเบียบใหม่นี้ก็ไม่ได้แค่อนุญาตให้พรานเข้าไปล่าลูกหมีได้ถึงในถ้ำ แต่ยังรวมไปถึงอนุญาตให้ใช้แสงไฟล่อหมีดำออกมาจากถ้ำได้, การใช้เหยื่อล่อ และการยิงกวาง เป็นต้น

โดยปัจจุบันได้มีการอนุมัติกฎระเบียบนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการภายในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2020 นี้

 

เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู

ที่มา: TheGuardian , Unilad


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น