CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชม “ปลาแองเกลอตัวผู้” สัตว์ที่วิวัฒนาการเพื่อผสมพันธุ์จนถูกเรียกว่า “หรรมส์มีชีวิต”

ลึกลงไปใต้ท้องทะเลของมหาสมุทร ความมืดมิดไร้สิ่งใด และแรงดันน้ำมหาศาล ล้วนแต่จะบีบบังคับให้สิ่งมีชีวิตที่นั่นต้องปรับตัวเพื่อให้สายพันธุ์มีชีวิตรอดต่อไปแบบสุดโต่ง

สำหรับปลาแองเกลอร์ เราอาจจะเคยได้ยินกันมาบางว่าพวกมันวิวัฒนาการเดือยเรืองแสงที่หัวขึ้นมาเพื่อล่อปลาอื่นๆ

 

ปลาแองเกลอร์สายพันธุ์ Caulophryne pelagica

 

แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าปลาแองเกลอร์ที่เราคุ้นเคยกันนั้นส่วนใหญ่ล้วนแต่จะเป็นตัวเมียทั้งนั้น

เพราะสำหรับปลาแองเกลอร์ตัวผู้แล้วไม่เพียงแต่มันจะไม่มีเดือยเรืองแสงเท่านั้น แต่พวกมันยังวิวัฒนาการตัวเองมาเพื่อให้มีชีวิตอยู่เพื่อผสมพันธุ์โดยเฉพาะ

ถึงขนาดที่นักวิทยาศาสตร์เรียกมันด้วยชื่อเล่นว่า “หรรมส์ที่มีชีวิต” เลย

อ้างอิงจากงานวิจัยการศึกษาชีวิตปลาแองเกลอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science ปลาแองเกลอร์ตัวผู้นั้นมีลักษณะการใช้ชีวิตที่ค่อนข้างแปลก

มันจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตามหาตัวเมียในก้นมหาสมุทร ก่อนที่จะเกาะติดกับตัวเมียราวกับรวมร่างกัน เพื่อดูดเลือดจากตัวเมียและผสมพันธุ์ แถมในบางสายพันธุ์ปลาตัวผู้จะไม่ยอมปล่อยตัวเมียไปตลอดชีวิตเลยด้วย

 

ปลาแองเกลอร์ตัวผู้ ระหว่างเกาะอยู่กับตัวเมีย

 

แค่นี้สำหรับหลายคนก็อาจจะถือว่าประหลาดแล้ว แต่ทราบกันหรือไม่ว่าปลาแองเกลอร์ตัวผู้ยังผสมพันธุ์ด้วยการฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในตัวเมียผ่านผิวหนังโดยตรงด้วย

และที่สำคัญเมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาปลาแองเกลอร์ 10 สายพันธุ์เพิ่มเติม พวกเขาก็พบกับเรื่องที่น่าประหลาดใจเข้าไปอีก

นั่นเพราะจากการตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันของปลาแองเกลอร์ตัวผู้ พวกเขาก็พบว่าปลาเหล่านี้ ไม่มียีนที่ให้สร้าง เซลล์ T พิฆาต ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

แถมปลาแองเกลอร์สายพันธุ์ไม่ยอมปล่อยตัวเมียไปตลอดชีวิต ยังไม่มียีนภูมิคุ้มกันสำคัญอีกหลายชนิด จนแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายใดๆ เลยด้วย

เรียกได้ว่าปลาเหล่านี้ทิ้งทุกอย่างไปแม้แต่ระบบภูมิคุ้มกันเพื่อการผสมพันธุ์เลยก็คงไม่ผิดนัก

 

ปลาแองเกลอร์ตัวเมีย ที่มีตัวผู้เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก

 

ถึงอย่างนั้นก็ตาม การค้นพบนี้ก็นับว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างแปลกมาก สำหรับสัตว์ที่อาศัยในน้ำลึกที่เต็มไปด้วยปรสิตและจุลินทรีย์ อย่างปลาแองเกลอร์

ดังนั้น ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จึงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลาตัวนี้น่าจะมีระบบการป้องกันตัวจากปรสิตอื่นๆ เพียงแค่เรายังไม่ทราบอยู่

และแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะยังไม่สามารถบอกได้ว่าระบบการป้องกันตัวที่ว่าคืออะไรก็ตาม แต่มันก็คงจะทำให้ปลาน้ำลึกที่แปลกอยู่แล้วตัวนี้ ยิ่งมีความแปลกขึ้นไปอีกเป็นแน่

 

ที่มา livescience, sciencemag, inverse


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น