สำหรับสายงานดีไซน์เนอร์นักออกแบบ ศิลปิน หรือช่างภาพคงจะเคยนึกถึงความมหัศจรรย์ที่ว่ามันคงจะดีหากเราสามารถถ่ายภาพบางสิ่งแล้วนำไปแปะลงงานตัดต่อในโฟโตชอปได้ทันที น่าจะสะดวกกับชีวิตการทำงานมากขึ้นแน่ๆ แต่มันก็คงไม่มีทางเป็นไปได้หรอก…
https://twitter.com/cyrildiagne/status/1256916982764646402
แต่สำหรับ Cyril Diagne ผู้เป็นทั้งศิลปิน ดีไซน์เนอณ์ และโปรแกรมเมอร์ ได้เนรมิตสิ่งที่หลายคนวาดฝันเอาไว้เป็นเทคโนโลยีล้ำหน้าขึ้นมาอีกขึ้นแล้ว
ด้วยการนำข้อดีของเทคโนโลยี AR ผนวกกับเทคโนโลยีการเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ (ML หรือ AI) นั่นจึงทำให้เกิดฟังก์ชั่น ‘ก็อป-วาง’ วัตถุจากภาพถ่ายในชีวิตจริงเอามาวางแปะในโฟโตชอปได้ด้วยการใช้สมารท์โฟน!!
เมื่อมีคลิปเปิดเผยความว้าวนี้ออกมา แม้แต่ทางบริษัท Adobe เองยังแทบไม่เชื่อสายตาเลย…
Cut it out. No, seriously. https://t.co/Lulnwo9G6e
— Adobe Photoshop (@Photoshop) May 6, 2020
มันอาจจะเป็นคลิปที่ถูกตัดต่อมาอีกทีนึงเหมือนอย่างในคลิปไวรัลที่ทำกันในแอป TikTok หรือ Instagram อาจจะมาเป็นมุกเมษาหน้าโง่รึเปล่า…
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Cyril ได้เปิดเผยข้อมูลโค้ดต่างๆ ไว้บนเว็บไซต์ GitHub ด้วย พร้อมกับคำอธิบายว่ามันเป็นต้นแบบโค้ดของระบบ AR กับ ML ที่จะช่วยในการตัดวัตถุต่างๆ ออกจากรอบตัววัตถุที่ต้องการ
และสามารถนำภาพถ่ายนั้นไปวางไว้บนซอฟต์แวร์ตัดต่อภาพได้ทันที (เบื้องต้นใช้งานกับโฟโต้ชอปได้ แต่ก็น่าจะนำไปปรับใช้กับซอฟต์แวร์ตัวอื่นได้เหมือนกัน)
And again, the OpenCV SIFT trick to find where the phone is pointing at the screen.
I also packaged it as a small python library: https://t.co/en0EyGSklp
Send a camera image + a screenshot and you get accurate x, y screen coordinates! pic.twitter.com/OOCFrrZseZ
— Cyril Diagne (@cyrildiagne) May 3, 2020
สำหรับเคล็ดลับของวิธีการสุดว้าวนี้ เขากล่าวว่าเป็นผลของระบบการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า BASNet ที่มีความสามารถในการจดจำและตัดวัตถุอื่นๆ ออกจากจุดโฟกัสในภาพถ่ายได้อัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำหน้าที่ในการก็อปปี้ภาพถ่ายออกมา
Right now, latency is about ~2.5s for cut and ~4s for paste.
There are tons of ways to speed up the whole flow but that weekend just went too fast 🤷🏿♂️Anyway that’s it for now. Let me know if you have any question. Otherwise see you next week for another AI+UX prototype! pic.twitter.com/hyArPgy2Bq
— Cyril Diagne (@cyrildiagne) May 3, 2020
และเมื่อนำมาผนวกกับแอปที่ออกแบบมาเพื่อสมาร์ทโฟนต้นแบบ ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นอย่างที่เห็นใช้เวลาประมาณ 2.5 วินาที ในการประมวลผลบนโทรศัพท์เพื่อตัดวัตถุออกมาจากภาพถ่าย และอีก 4 วินาทีในการวางวัตถุลงไปในโปรแกรมโฟโตชอป
มีคนลองนำโค้ดไปดัดแปลงใช้งานกับแอปตัวอื่นได้เหมือนกัน
https://twitter.com/matthieurouif/status/1256968728153141249
อย่างไรก็ดี ชุดโค้ดข้างต้นที่เผยแพร่มานั้นยังเป็นเพียงต้นแบบเพื่อการศึกษาเท่านั้น ยังไม่ได้มีฟีเจอร์อะไรที่โดดเด่นมากไปกว่านั้น
ที่มา: @cyrildiagne, github
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น