CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์เจ๋ง สร้างผิวหนังเทียมที่รู้สึกเจ็บปวดได้ หวังต่อยอดทำอวัยวะเทียมสมจริง

หนึ่งในข้อดีของเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ คืออุปกรณ์หรือหุ่นยนต์เหล่านั้น มักจะไม่สามารถรู้สึกเจ็บได้ ซึ่งทำให้พวกมันมักจะมีความเหมาะสมในการทำเรื่องอันตรายแทนมนุษย์

อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการที่อุปกรณ์ต่างๆ จะสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกเจ็บได้ มันก็อาจจะเป็นอะไรที่สำคัญกว่าที่คิด โดยเฉพาะกับสิ่งประดิษฐ์ในกลุ่มอวัยวะเทียม

 

 

และเมื่อล่าสุดนี้เองทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย RMIT ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า

พวกเขาประสบความสำเร็จในการสร้างผิวหนังเทียมที่สามารถรู้สึกเจ็บปวดที่ว่าได้จริงๆ แล้ว ภายใต้เป้าหมายที่จะนำมันไปต่อยอดสร้างอวัยวะเทียมที่มีความรู้สึกจริงๆ ในอนาคต

 

 

อ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Advanced intelligent Systems ผิวหนังเทียมชิ้นนี้ในปัจจุบันมีตัวต้นแบบถูกสร้างขึ้นมาสามแบบ

โดยมันมีแบบที่ทำขึ้นจากวัสดุทั่วไป แบบที่ทำขึ้นจากวัสดุยืดหยดได้ และแบบที่ทำจากวัสดุเคลือบบางกว่าเส้นผม ที่อาจนำไปใช้ในการปลูกถ่ายผิวหนังได้ในอนาคต

ซึ่งทั้งสาม ล้วนแต่จะทำงานโดยอาศัยอุปกรณ์ตรวจจับความเจ็บปวดที่จะเลียนแบบเส้นประสาทของมนุษย์

 

 

ในกรณีที่ความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือความกดดันที่อุปกรณ์ได้รับมากเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้ ตัวอุปกรณ์จะเริ่มทำการส่งสัญญาณความเจ็บด้วยไฟฟ้าเพื่อจำลองการตอบสนองต่อความรู้สึกอีกที

“เรารับรู้ถึงสิ่งต่างๆ ตลอดเวลาผ่านทางผิวหนัง แต่การตอบสนองต่อความเจ็บปวดจะเกิดขึ้นในบางบางกรณี เช่นเมื่อเราสัมผัสสิ่งที่ร้อนเกินไปหรือแหลมเกินไปเท่านั้น” คุณ Madhu Bhaskaran หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

“ที่ผ่านมาไม่มีเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ใดที่สามารถเลียนแบบความรู้สึกเจ็บปวดของมนุษย์ได้อย่างแนบเนียนเลย… จนกระทั่งในปัจจุบัน”

 

 

นี่นับว่าเป็นผลงานที่น่าสนใจเลยในปัจจุบัน เพราะความเจ็บนั้นมีความสำคัญมากในการเตือนร่างกายของเราว่าเรานั้นกำลังอยู่ในอันตราย

ดังนั้น อุปกรณ์ชิ้นนี้จึงไม่เพียงแต่จะสามารถทำให้การใช้ อวัยวะเทียมมีความสมจริงมากขึ้นอีกขั้นเท่านั้น แต่พวกมันยังอาจจะเป็นตัวกลางสำคัญในการช่วยป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใส่อวัยวะเทียมต่อไปในอนาคตเลยก็ได้ด้วย

 

ที่มา futurism, techxplore, mbs และ onlinelibrary


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น