CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

งานวิจัยชี้ อุกกาบาตที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ อาจส่งผลดีต่อแบคทีเรียในอดีต

มันเป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเมื่อราวๆ 65 ล้านปีก่อน ได้มีเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งเอาชนโลก ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตราวๆ 75% ของโลกต้องจบชีวิตลง และกลายเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์ไป

 

 

ว่าแต่เพื่อนๆ ทราบกันหรือไม่ว่าอุกกาบาตในวันนั้น แท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญเพียงแค่การทำลายสิ่งมีชีวิตบนโลกเท่านั้น

เพราะอ้างอิงจากในงานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Geology ดูเหมือนว่าอุกกาบาตในวันนั้น แท้จริงแล้วอาจจะมีส่วนสำคัญในการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของแบคทีเรียในโลกด้วย

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ เกิดขึ้นจากการที่นักวิจัยได้เข้าทำการตรวจสอบหลุมอุกกาบาตชิกซูลุบ และพบว่าแม้แต่ในช่วงเวลาหลังอุกกาบาตตกไม่นาน ในหลุมอุกกาบาตแห่งนี้กลับมีทั้งร่องรอยของพืช เชื้อรา และแบคทีเรียจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก

 

 

ลักษณะเช่นนี้ บอกให้เราทราบว่าแทบจะทันทีที่ฝุ่นจากอุกกาบาตเริ่มจะหายไป และแสงตะวันกลับสู่ภาวะปกติ ในพืช แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ในเวลานั้น ก็เริ่มที่จะมีการฟื้นตัวขึ้นแบบทันที

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการฟื้นตัวที่รวดเร็วเหล่านี้ คือพืชแบบแพลงก์ตอนเนื่องจากในงานวิจัยอีกชิ้นซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2019 นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าแพลงก์ตอนนั้น เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิด ที่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลยจากอุกกาบาตและคลื่นสึนามิ

 

 

เป็นไปได้ว่าการที่แพลงก์ตอนไม่หยุดผลิตออกซิเจนในหน่วยเล็กๆ นี้เอง ที่ทำให้แบคทีเรียและจุลินทรีย์สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว และอาจเติบโตขึ้นกว่าที่เคยเป็นเสียอีก ในขณะที่สัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า จำเป็นต้องใช้เวลานานกว่ามากในขั้นตอนการฟื้นตัว

นับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากอุกกาบาตพุ่งชนโลกนี้ นับว่ามีเรื่องราวเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ดังนั้นในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นที่จะใช้เวลาอีกนานพอสมควรเลย กว่าที่พวกเขาจะสามารถทำความเข้าใจช่วงเวลานี้ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

 

 

ถึงอย่างนั้นก็ตาม การค้นพบในครั้งนี้ ก็ได้ทำให้เราเข้าใกล้ความจริงโดยสมบูรณ์ของเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เข้าไปอีกก้าวหนึ่งแล้วอยู่ดี

 

ที่มา foxnews, geoscienceworld และ nytimes


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น