เรียกว่าเป็นความรู้ใหม่สำหรับหลายๆ คนไปเลย (#เหมียวตะปู เองก็เช่นกัน) เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งได้โพสต์ภาพของ ‘ลูกนกฮูก’ ที่กำลังนอนหลับคว่ำหน้า… ?!
โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเคยชินกับการได้เห็นว่านกฮูกยืนหลับ เพราะอย่างนั้นภาพนี้จึงเป็นสิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยเห็นกันมาก่อน และเหตุผลที่พวกมันหลับในท่านี้ก็เพราะว่า “หัวของมันหนักจนเกินไป” นั่นเอง
ภาพของลูกนกฮูกนอนหลับคว่ำหน้าที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน
Mark Rees นักเขียนชาวเวลส์ผู้โพสต์ภาพนี้ลงบนทวิตเตอร์ส่วนตัว เขาอธิบายตรงแคปชั่นภาพไว้ด้วยว่า…
“ผมเพิ่งค้นพบว่าลูกนกฮูกจะนอนคว่ำหน้าในลักษณะนี้ เพราะว่าหัวของมันหนักจนเกินไป นอกจากนี้ผมก็คิดว่าผมไม่น่าจะเคยเห็นขาของพวกมันมาก่อนด้วย…”
โพสต์ของเขา (21 มิถุนายน 2020)
https://twitter.com/reviewwales/status/1274645239509254146
ถามว่าภาพที่เห็น หรือสิ่งที่เขาอธิบายนั้นมันเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า? คำตอบก็คือ “จริง” เพราะหากย้อนกลับไปในปี 2019 ภาพของลูกนกฮูกที่กำลังนอนหลับคว่ำหน้านั้นก็เคยเป็นกระแสมาก่อนแล้วจากผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกคนหนึ่ง
I haven’t found the original source for this pic, but it‘s also suggests owls sometimes sleep laying down.
Although I haven’t found any other ground face-plants or science articles on teenagers being top-heavy unstable sleepers…
Any bird peeps want to confirm or debunk? pic.twitter.com/i1r98mIoJN
— Mika McKinnon (@mikamckinnon) June 3, 2019
เช่นเดียวกันกับนักวิจัยทางด้านธรรมชาติอีกคนหนึ่งที่อธิบายว่า การที่ลูกนกฮูกทิ้งตัวลงไปนอนคว่ำนั้นมันเกิดขึ้นจริงๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าศีรษะของมันนั้นหนักจนเกินไป ทำให้พักผ่อนได้ลำบาก จึงจำเป็นต้องหลับในท่านี้
I've been trying to find the original photographer for this image, but no luck. It's obviously a captive bird. Regardless, yes, young nestling owls do sleep, or rest lying down. Their heads are too heavy for their bodies. Here are some saw-whets from my Ph.D. research 🙂 pic.twitter.com/9xQ2SA1IPI
— Dr. Heather Hinam 🏳️🌈🌻 (@SecondNatureMB) June 3, 2019
นอกจากนั้นยังเคยมีการยืนยันจากพอดแคสต์ที่ชื่อว่า BirdNote ของกลุ่มอนุรักษ์ National Audubon Society ที่กล่าวว่าโดยปกติแล้วนกฮูกที่ยังไม่โตเต็มวัยก็มักจะนอนหลับในท่านี้กันเป็นเรื่องปกติ
บางครั้งพวกมันก็ไม่ได้ถึงกับคว่ำหน้าลงกับพื้น แต่อยู่ในลักษณะของการนอนคว่ำแล้วเอียงหน้ามาทางด้านข้าง เพื่อการพักผ่อนให้ได้เต็มที่ ไม่ให้รู้สึกลำบากกับน้ำหนักของหัว ใช้ขาเกี่ยวเอาไว้ทำให้ไม่ตกจากต้นไม้
“พวกมันหลับไม่นาน จึงต้องเลือกท่าที่สบายที่สุด และไม่ชอบโดนปลุกแม้เป็นเวลาที่แม่นกจะป้อนอาหารก็ตาม”
เรียบเรียงโดย #เหมียวตะปู
ที่มา: IFL Science , Audubon , Unilad
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น