CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

เผยภาพ “แบคทีเรียบนลิ้นมนุษย์” ที่นักวิจัยสร้างขึ้น จากเทคนิคถ่ายภาพผสานรูปแบบใหม่

เคยมีคำกล่าวที่ว่า “ความมหัศจรรย์นั้นมีอยู่แทบทุกที่เพียงแค่คุณมองหามัน” คำๆ นี้ถือว่าเป็นอะไรที่ใช้ได้จริงในโลกของเราอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะแม้แต่ในช่วงเวลาที่ผู้คนต้องเก็บตัว นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถนำเรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์มาให้เราชมดันได้เรื่อยๆ จริงๆ

โดยในคราวนี้เหล่านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันฟอร์ซิธแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกมาทำการเปิดเผยภาพสุดงดงามภาพใหม่ล่าสุดภาพหนึ่ง ซึ่งหากดูเผินๆ แล้วหลายคนคงคิดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อะไรสักอย่างก็ได้

 

 

แต่ในความเป็นจริงแล้วภาพที่เรากำลังเห็นอยู่นี้ จริงๆ แล้วเป็นอะไรที่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิดมาก เพราะจริงๆ แล้วนี่คือภาพของ “ลิ้น” ของพวกเรา หรือจะพูดให้เฉพาะเจาะจง มันคือภาพของแบคทีเรียสารพัดชนิด ที่อาศัยอยู่บนส่วนต่างๆ ของลิ้นของเรานั่นเอง

ภาพที่เพื่อนๆ เห็นอยู่นี้เกิดขึ้นจากการถ่ายภาพลิ้นด้วยเทคนิคใหม่ที่ชื่อ  “CLASI-FISH” เทคนิคที่ผสมผสาน การสร้างภาพเชิงสเปกตรัม เข้ากับการถ่ายภาพเรืองแสง และเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อที่จะทำให้เราสามารถจำแนกแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนที่ต่างๆ ของลิ้นออกมาให้เห็นง่ายๆ ได้

 

 

อ้างอิงจากในงานวิจัย เจ้าลิ้นที่เราเห็นนี้ไม่ใช่ของมนุษย์คนใดคนหนึ่ง กลับกันมันเป็นภาพที่ใช้เทคนิค CLASI-FISH เก็บข้อมูลมาจากอาสาสมัคร 21 คน

โดยเจ้าแบคทีเรียที่อยู่บนลิ้นของเรานั้น แม้ว่าจะต่างกันไปในแต่ละคนและอาจมีได้มากกว่า 700 สายพันธุ์ แต่โดยมากแล้วก็จะประกอบด้วยแบคทีเรียใหญ่ๆ 17 ชนิด ซึ่งจะสามารถพบได้ในคนกว่า 80% ของโลก และแบคทีเรียเหล่านี้เองก็ส่งผลโดยตรงกับการทำงานของลิ้นมนุษย์ด้วย

 

ส่วนหนึ่งของสารพัดแบคทีเรียบนลิ้นของเรา

 

อย่างเช่นแบคทีเรียชื่อ Actinomyces และ Veillonella (สีมาเจนต้า) เองก็มีความสามารถในการเปลี่ยนไนเตรตซึ่งพบได้บ่อยๆ ในผักสีเขียวให้กลายเป็นไนไทรต์ได้ ก่อนที่สารดังกล่าวจะถูกนำไปทำเป็นไนตริกออกไซด์ที่ร่างกายใช้ขยายหลอดเลือดเพื่อควบคุมความดันโลหิตอีกที

“แบคทีเรียบนลิ้นนั้น เป็นมากกว่าอะไรบางอย่างที่กองสุมๆ ไว้บนลิ้นเท่านั้น แต่พวกมันเป็นเหมือนอวัยวะชิ้นหนึ่งของร่างกายเราเลย” คุณ Gary Borisy นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าว

 

 

และก็แน่นอนว่าการศึกษาภาพที่ออกมานี้ นักวิทยาศาสตร์ก็จะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการที่แบคทีเรียเหล่านี้ทำงานร่วมกันทั้งในด้านที่ดีและไม่ดี ได้สะดวกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย

 

ที่มา sciencealert, eurekalert และ cell


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น