CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ชมภาพเคลื่อนไหวจำลอง “ด้านข้างของหลุมดำ” ที่ถูกเผยแพร่ออกมาโดยองค์กรนาซา

ในตอนที่มีภาพหลุมดำของจริงครั้งแรกถูกเผยแพร่ออกมา เชื่อว่าคงมีหลายคนไม่น้อยที่รู้สึกทึ่งกับภาพถ่ายที่ออกมาและคิดว่าหลุมดำมันช่างเป็นสิ่งที่ลึกลับและ “เท่” ยิ่งนัก

 

 

แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าหลุมดำนั้น แท้จริงแล้วยังมีเรื่องเท่ๆ ที่หลายๆ คนไม่ทราบอยู่อีกหลายอย่างเลย นั่นเพราะที่ผ่านๆ มา ภาพของหลุมดำที่เราเห็นนั้น แทบจะทั้งหมด ล้วนแต่จำลองขึ้นจาก “ด้านหน้า” ของหลุมดำทั้งนั้น

ดังนั้น เพื่อนำเสนออีกมุมหนึ่งของภาพหลุมดำ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่เคยเห็น เมื่อล่าสุดนี้เองทีมนักวิจัยจากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดของนาซา (GSFC) จึงได้ออกมาเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวจำลองของชิ้นใหม่ของหลุมดำ ซึ่งอ้างอิงจากลักษณะของหลุมดำในกรณีที่เรามองจากด้านข้าง

 

 

อย่างที่เพื่อนๆ เห็นกันในภาพเคลื่อนไหว หลุมดำนั้นเมื่อมองจากด้านบนเราก็จะเห็นเป็นหลุมสีดำกลางวงแหวนไฟ อันเป็นวงแหวนที่เกิดขึ้นจากก๊าซ ฝุ่น และสารอื่นๆ ที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำตามปกติ

อย่างไรก็ตามเมื่อขยับหลุมไปข้างๆ เราจะเห็นว่าวงแหวนไฟนอกจากจะลอยอยู่รอบๆ หลุมดำแล้ว มันยังโค้งอยู่ด้านบนและด้านล่างของหลุมดำในสภาพที่ไม่น่าเชื่อด้วย

 

 

อ้างอิงจากเว็บไซต์ของนาซา ลักษณะวงแหวนซ้อนที่เห็นเกิดขึ้นจากภาพลวงตาของแสงที่เกิดขึ้นในขณะที่มันโดนแรงดึงดูดมหาศาลของหลุมดำดึง ทำให้แสงจากด้านต่างๆ ในหลุมดำราวกันว่าโอบล้อมหลุมดำไว้ในเวลาเดียวกัน

“การจำลองและภาพยนตร์เช่นนี้ ช่วยให้เราเห็นภาพว่าไอน์สไตน์ต้องการจะสื่ออะไรในตอนที่เขาบอกว่าแรงโน้มถ่วงทำให้โครงสร้างของอวกาศและเวลาเปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี” คุณ Jeremy Schnittman นักวิจัยของ GSFC ผู้เป็นคนจำลองภาพเคลื่อนไหวที่ออกมากล่าว

 

 

โดยเขาอธิบายเพิ่มเต็มด้วยว่าวงแหวนที่เห็นนี้จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้มากกว่าด้านบนและขนาดข้างขึ้นอยู่กับมุมมองที่คนมองมัน

แม้ว่าเมื่อมองจากด้านบนเราจะเห็นว่าหลุมดำมีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์ แต่หากเปลี่ยนมุมกล้องไปเล็กน้อย แสงที่ออกมาก็จะถูกดึงดูดบิดเบือน จนวงแหวนที่เคยดูแบน ไม่ได้แบนอย่างที่คิด และเปลี่ยนรูปร่างไปตามมุมที่เรามองนั่นเอง

 

ที่มา nasa และ livescience


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น