กลายมาเป็นอีกหนึ่งปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้เราได้เห็นความสวยงามอีกครั้ง หลังจากที่มีคนพบเห็นแพลงก์ตอนปรากฎตัวตามชายหัวในเม็กซิโก เป็นภาพความสวยงามทางธรรมชาติที่ทำให้น้ำทะเลเรืองแสงสีฟ้าอีกครั้งในรอบ 60 ปีเลยทีเดียว
ภาพชายหาดเรืองแสงเช่นนี้ คือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่แพลงก์ตอนกลับมาขึ้นชายฝั่งตามหาดในเมืองอะคาปุลโก ประเทศเม็กซิโก โดยที่แพลงก์ตอนจะทำปฏิกิริยาทางชีวเคมีจากเชื้อจุลินทรีย์ภายในตัวของมันเอง
ในส่วนของชาวเน็ตที่ได้เห็นต่างพูดกันว่าเป็นภาพที่แปลกตาไปมากๆ และอาจเกิดจากการที่มนุษย์ไม่ได้ออกไปข้างนอก ไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ ในช่วงล็อคดาวน์จนทำให้ธรรมชาติกลับมาฟื้นตัวเองอีกครั้ง
แต่ทว่าทางนักชีววิทยา Enrique Ayala Duval กล่าวว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเพราะเรื่องไวรัสที่ทำให้คนไม่ออกมาจนธรรมชาติเริ่มฟื้นตัว แต่เป็นเพราะวิวัฒนาการของพวกมันเองต่างหาก
แสงที่เรืองออกมาจากตัวนั้นเป็นฏิกิริยาทางชีวเคมีในตัวของแพลงก์ตอน เกิดจากสารประกอบ ลูซิเฟอริน ออกซิเจน อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต ออกซิเจนออกซิไดซ์ลูซิเฟอริน ลูซิเฟอรินช่วยเร่งปฏิกิริยา และอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตให้พลังงานกับปฏิกิริยานี้ ทำให้เกิดการเรืองแสงใต้น้ำจนสังเกตเห็นได้เช่นนี้
“และในส่วนนี้มีสมมติฐานว่าการเรืองแสงทางชีวภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการนะครับ
ในขั้นต้นเมื่อชั้นบรรยากาศโลกมีความเข้มข้นของออกซิเจนเกือบเป็นศูนย์ และออกซิเจนค่อยๆ เพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรากฎตัวของสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น
สิ่งมีชีวิตพวกนี้ถูกปล่อยออกมาจากออกซิเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตัวพวกมันด้วยจึงเกิดปฏิกิริยาเรืองแสงทางชีวภาพเช่นนี้”
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น