อีกหนึ่งเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับสภาวะทางสมอง จากกรณีศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ เพิ่งเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับเคสของชายที่มีสภาวะถดถอยทางสมอง ทำให้เขาไม่สามารถแยกแยะตัวเลขง่ายๆ อย่าง 2 ถึง 9 ได้
หลังจากทำการเก็บข้อมูลของนักธรณีวิทยาวิศวกรรมรายนี้แล้ว เขาได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคหายาก Corticobasal syndrome (CBS) ภาวะสมองถดถอยมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว
ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวระบุว่าสมองของเขานั้นตอบสนองต่อภาพและคำต่างๆ แม้ว่าตัวบุคคลจะไม่ได้รับรู้ก็ตาม ซึ่งชายคนนี้ระบบประสาทได้รับความเสียหายและส่งผลกระทบกับเขาเช่น การไม่สามารถแยกแยะหรือเขียนตัวเลข 2 ถึง 9 ได้ หรือแม้แต่ไม่สามารถมองเห็นภาพหรือคำที่มีตัวเลขเหล่านี้อยู่ด้วยได้
ในส่วนของผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเผยให้เห็นว่าสมองของเขานั้นรับรู้ภาพและคำเหล่านั้นได้ แต่ตัวเขาเองกลับมองไม่เห็นมันเป็นแบบนั้น
กลายเป็นว่าเขามองเห็นเป็นตัวเลขเพียงแค่เสี้ยวเดียว หลังจากที่สมองเห็นและรับรู้ว่าเป็นตัวเลขแล้ว หลังจากนั้นเขาก็มองไม่ออกว่าเป็นตัวเลขอีกต่อไป กลายเป็นรูปแบบที่ขัดแย้งในตัวของเขาเอง ซึ่งทางทีมนักวิทยาศาสตร์พยายามจะหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นในระหว่างที่เขาไม่รู้ตัวว่ากำลังรับการสื่อสารตัวเลขเข้าไปในสมอง
อย่างไรก็ดี เขาเข้าใจตัวอักษร สัญลักษณ์ และตัวเลข 1 กับ 0 ได้ แต่สำหรับตัวเลข 2 – 9 นั้นไม่เข้าใจ มองไม่เห็นเป็นตัวเลข กลายเป็นภาพเบลอๆ ไปหมด
เมื่อลองให้เขาพยายามเขียนตัวเลข 8 ตามที่เห็นในภาพ เขากลับเขียนมันออกมาเป็นอะไรที่ดูยุ่งเหยิงโดยให้คำจำกัดความว่าเป็นเหมือน ‘สปาเก็ตตี้’
https://www.youtube.com/watch?v=4ww7lgkZiAA
สิ่งที่น่าสนใจระหว่างการศึกษาเคสของชายคนดังกล่าวมา 8 ปี นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นระบบตัวเลขทดแทนที่จะให้เขานำมาใช้ทำงานได้จนกว่าจะถึงเวลาเกษียณด้วย นั่นก็คือใช้เลข 1 ผสมกับตัวอักษรอื่นๆ
โดยหนึ่งในการทดลอง ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้นำภาพหรือคำนำมาผสมกับตัวเลขขนาดใหญ่ หรือไม่ก็กลุ่มของตัวเลขต่างๆ ทว่าเขากลับไม่สามารถระบุอะไรได้เลย ทั้งๆ เขาสามารถระบุได้เมื่อนำตัวเลขออกไปจากภาพแล้ว
โดยผลคลื่นสมองเผยว่าในขณะที่เขาไม่รู้ว่ามันคือภาพอะไรที่อยู่ซ้อนกับตัวเลข แต่สมองของเขากลับบอกและระบุได้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร
เลข 8 ที่เห็นในจอกับเลข 8 ที่เขาเขียนออกมา
อย่างไรก็ดี กรณีศึกษาในครั้งนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในสมองและการรับรู้ของเขา โดยผลการตรวจคลื่นสมองในหลายๆ ครั้งคือกระบวนการที่ซับซ้อนแต่กลับการขาดการรับรู้ของตัวเขาเอง
ที่มา: eurekalert, pnas
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น