CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

“ไซเรนอากาศไครส์เลอร์” อุปกรณ์เตือนภัยทรงพลัง ดังจนเป่าหมอกออกจากพื้นที่ได้

เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่องราวของ “ไซเรนเตือนภัยทางอากาศไครส์เลอร์” (Chrysler Air-Raid Siren) กันมาก่อนไหม?

 

 

นี่เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่พอๆ กับรถที่หนักถึง 3 ตัน และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 8 สูบ 180 แรงม้า ซึ่งจะดันเครื่องอัดอากาศแบบสองขั้นตอนและสับแบบหมุนสร้างเป็นเสียงดังสนั่นฉีกอากาศ ด้วยระดับเสียงที่สูงถึง 138 เดซิเบล

ระดับเสียงที่ออกมานี้เรียกได้ว่าดังเท่ากับจรวดลำใหญ่ๆ ในปัจจุบัน และแน่นอนว่าไม่มีอุปกรณ์ไซเรนเตือนภัยใดที่จะดังเท่ากับมันอีกแล้ว

 

 

ไซเรนเตือนภัยทางอากาศไครส์เลอร์ ถูกผลิตขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไปจนถึงสงครามเย็น โดยความร่วมมือระหว่างบริษัทรถไครส์เลอร์และบริษัทเบลล์ เทเลโฟน

โดยเป็นไซเรนเตือนภัยทางอากาศที่มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น และมีรุ่นที่สองซึ่งถูกใช้ในช่วงสงครามเย็นเป็นรุ่นที่สำคัญที่สุด

ไซเรนเตือนภัยทางอากาศไครส์เลอร์รุ่นที่สอง ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อหน้าที่สุดสำคัญอย่างการเตือนภัยเกี่ยวกับการโจมตีของโซเวียต

ด้วยความสามารถในการส่งเสียงเตือนได้ไกลถึง 40 กิโลเมตร ซึ่งมากกว่าไซเรนเตือนภัยอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่มาของชื่อเล่นที่ว่า “นกหวีดแดงยักษ์”

 

 

ลักษณะความดังอันเป็นเอกลักษณ์ของไซเรนเตือนภัยทางอากาศรุ่นนี้ทำให้ในเวลานั้น รัฐบาลของสหรัฐฯ เลือกที่จะติดตั้งมันในสถานที่สำคัญที่มีประชากรอยู่มากหลายแห่งในประเทศ โดยมีพื้นที่เด่นๆ คือลอสแองเจลิส ซึ่งสั่งซื้อไซเรนไครส์เลอร์ไปติดตั้งถึง 6 ตัว

 

 

แต่เสียงอันดังก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้ไซเรนเตือนภัยทางอากาศไครส์เลอร์เป็นที่รู้จักเสียด้วย เพราะหากย้อนกลับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองหน่วยกองทัพเรือสหรัฐและกองทัพอังกฤษ ถึงกับใช้ไซเรนไครส์เลอร์รุ่นที่หนึ่งในการกำจัดหมอกออกจากท้องทะเลที่เรือแล่นผ่าน หรือลานบินเพื่อให้เครื่องบินขึ้นลงเลย

 

 

แต่การใช้เครื่องมือชิ้นในการกำจัดหมอก มันก็ใช่ว่าจะไม่มีจุดอ่อนเลยแต่อย่างไร นั่นเพราะเสียงจากไซเรนตัวนี้มันดังมากจนเป็นอันตรายต่อสัตว์ในพื้นที่ได้

แถมผู้ใช้เองก็มักจะเกิดอาการบาดเจ็บที่แก้วหูหรือถูกแรงสั่นจากเสียงกระแทกจนเกิดอาการงุนงงได้ ต่อให้มีการใส่ที่ปิดหูก็ตามด้วย

ไซเรนเตือนภัยทางอากาศไครส์เลอร์สิ้นสุดการผลิตลงอย่างเป็นทางการในปี 1957 และถูกใช้งานต่อไปจนถึงช่วงยุค 1970 โดยกองทัพ ก่อนที่พวกมันส่วนมากจะถูกแยกชิ้นส่วนปลดประจำการ เนื่องจากขาดการใช้งานและซ่อมแซ่มต่อไป

 

 

คลิปตัวอย่างเสียงไซเรน

 

ที่มา amusingplanet


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น