มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันว่า โลกของเราไม่ได้มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีการสื่อสารด้วยเสียง กลับกันยังมีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากที่มีการอาศัยการสั่นสะเทือนในอากาศ เพื่อสื่อสารกับผองเพื่อนอยู่อีกมาก
และเมื่อล่าสุดนี้เองทีมนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ ค้นพบหนึ่งในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่กล่าวมาข้างต้นนี้เพิ่มขึ้นมาอีกตัวแล้ว แถมพวกมันยังเป็นสัตว์ที่หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นมาแล้วด้วย
นั่นเพราะภายในงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Zoology นักวิทยาศาสตร์ได้มีการออกมาเปิดเผยว่า “ปูมะพร้าว” (Birgus latro) ปูดินขนาดใหญ่ที่พบได้ทางภาคใต้ของบ้านเรานั้น แท้จริงแล้วมีการสื่อสารกันเองโดยใช้เสียงกับเขาด้วย โดยเฉพาะเวลาที่พวกมันกำลังมีเซ็กซ์
อ้างอิงจากนักวิทยาศาสตร์ปูมะพร้าวเดิมทีแล้วเคยถูกพบว่าจะมีการทำเสียงคล้ายการเคาะนิ้ว อย่างไรก็ตามเมื่อล่าสุดนี้ พวกเขาได้พบว่าเสียงดังกล่าวมีความหลากหลายกว่าที่พวกเขาคาด ซึ่งมากพอที่พวกมันจะใช้ในการสื่อสารที่ซับซ้อน (อย่างน้อยก็สำหรับปู) ได้
ปูมะพร้าว ที่ต่างประเทศได้รับชื่อเล่นว่า “ไททันถังขยะ” จากภาพด้านล่างนี้
จากการตรวจสอบตัวปูด้วยระบบเอกซเรย์ นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่า ปูเหล่านี้สามารถสื่อสารด้วยวิธีนี้ได้โดยอาศัยอวัยวะบางๆ ที่สั่นสะเทือนได้ชื่อ “Scaphognathites”
โดยเจ้าอวัยวะตัวนี้จะอาศัยอากาศจากปอดของปูในการกระพือใส่แผ่นแข็งในเหงือกของปู สร้างเสียงที่มีความแปลกต่างกันไป ด้วยการปรับความเร็วลม
ตัวอย่างการทำงานของ Scaphognathites ซึ่งในกรณีนี้เกิดขึ้นในกุ้งแดง
และเมื่อทำการตรวจสอบเสียงที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วยการบันทึกเสียงการ “สนทนา” ระหว่างปูมะพร้าว ด้วยระบบดิจิตอล พวกเขาก็พบข้อมูลเพิ่มเติมว่าการใช้เสียงของปูมะพร้าวนั้นจะมีบทบาทสำคัญมากเป็นพิเศษ ในการหาคู่และการผสมพันธุ์เลย เนื่องจากในช่วงเวลาสองช่วงนี้ ปูจะมีการส่งเสียงที่ถี่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลย
นี่นับว่าเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างน่าสนใจชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว นั่นเพราะนอกจากปูมะพร้าวแล้ว สัตว์ในกลุ่มครัสเตเชียนที่มีการใช้งาน Scaphognathites ในการสื่อสารนั้น จะมีเพียงกุ้งแดง (Procambarus clarkii) เท่านั้นทำให้ ปูมะพร้าวกลายเป็นครัสเตเชียนเพียงชนิดเดียวที่อาศัยอยู่บนบกและมีความสามารถนี้เลย
ที่มา livescience
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น