ในปัจจุบันมันเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีว่าโลกจะหมุนรอบตัวเองในเวลาราวๆ 24 ชั่วโมง ซึ่งทำให้นั่นกลายเป็นช่วงเวลาที่เราเรียกกันว่า “หนึ่งวัน” ว่าแต่เชื่อกันหรือไม่ว่าโลกของเรานั้น ไม่ได้หมุนรอบตัวเองในเวลา 24 ชั่วโมงมาตลอดอย่างที่เราคิดแต่อย่างไร
เพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ได้มีการออกมานำเสนอข้อมูลใหม่ที่ค่อนข้างน่าสนใจว่า เมื่อราวๆ 70 ล้านปีก่อน ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส โลกของเรานั้นเคยมีเวลาต่อวัน สั้นกว่าในปัจจุบันถึงวันละราวๆ 30 นาทีเลย
จากข้อมูลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Paleoceanography and Paleoclimatology นักวิทยาศาสตร์ได้พบความจริงในจุดนี้จากการตรวจสอบฟอสซิลสัตว์เปลือกโบราณอย่าง Torreites sanchezi ซึ่งจะมีร่องรอยคล้ายวงปีของต้นไม้อยู่บนเปลือก
ฟอสซิล Torreites sancheziสัตว์เปลือกในกลุ่มหอย ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ร่องรอยดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากการเติบโตของตัว T. sanchezi เองโดยมันจะมีระยะห่างจากกันราวๆ 40 นาโนเมตร และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบสารเคมีในเปลือกแต่ละชั้นเพื่อตรวจสอบระยะเวลาของวันแต่ละวัน หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละฤดูได้
การตรวจสอบในครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พบกับความจริงที่ว่าสนใจอยู่หลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นการที่ในอดีต โลกของเราใช้เวลาหมุนรอบตัวเองราวๆ 23.5 ชั่วโมงเท่านั้น หรือเรื่องที่โลกในเวลานั้นใช้เวลาหมุนรอบดวงอาทิตย์ถึง 372 วัน ทำให้หนึ่งปีในอดีตนานกว่าปัจจุบันไป
ร่องรอยคล้ายวงปีที่เปลือกของ T. sanchezi
ความแตกต่างในสองจุกนี้หากว่านำมาหักลบกันเองเราจะทราบว่าเวลาจริงๆในแต่ละปีของโลกไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก โดยในแต่ละปีโลกจะกินเวลาราวๆ 8,760 ชั่วโมง คล้ายกับปัจจุบัน
และสิ่งเดียวที่โลกในเริ่มจะหมุนรอบตัวเองช้าลงนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็คาดว่ามันน่าจะมาจากมวลของและแรงดึงดูดของดวงจันทร์ ซึ่งค่อยๆ หน่วงการหมุนเอาไว้มากขึ้นทีละน้อยก็เท่านั้น
ที่มา gizmodo และ onlinelibrary
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น