CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ยินดีด้วย ตอนนี้จำนวน “แรดดำ” ในแอฟริกากำลังค่อยๆ ฟื้นตัว หลังควบคุมการล่าได้ดีเยี่ยม

มันเป็นเรื่องที่เราอาจจะทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่าในปัจจุบัน “แรดแอฟริกา” หรือที่เรารู้จักกันในนาม “แรดดำ” (Diceros bicornis) นั้น กำลังถือว่ากำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อยู่ในขั้นวิกฤติ (critically endangered) ด้วยจำนวนแรดในป่าซึ่งเหลืออยู่เพียงหลักพันตัวเท่านั้น

 

 

ดังนั้นนี่จึงอาจจะเป็นข่าวที่ดีมากๆ ของเหล่านักอนุรักษ์เลยก็ว่าได้ เพราะจากการตรวจสอบประชากรแรดดำเหล่านี้ครั้งล่าสุด ทางสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ICUN) ก็ได้พบว่า ในปัจจุบันเจ้าแรดที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์แบบสุดๆ นี้ในปัจจุบันกำลังเพิ่มจำนวนกลับมาอย่างช้าๆ แล้ว

จากข้อมูลชุดใหม่ล่าสุดที่ได้รับการเปิดเผยออกมาโดยทาง ICUN ในช่วงปี 2012-2018 ที่ผ่านมา แรดดำนั้นได้เพิ่มจำนวนขึ้นจากที่เคยมีอยู่ราวๆ 4,800 ตัว เพิ่มขึ้นเป็น 5,600 ตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกมันกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในอัตราราวๆ 2.5% จากในอดีต

 

 

ผู้เชี่ยวชาญหลายกลุ่มเชื่อว่า เหตุผลของการเพิ่มขึ้นที่ว่านี้น่าจะมีปัจจัยสำคัญมาจากความสำเร็จในการควบคุมการล่าสัตว์แบบผิดกฎหมายในพื้นที่ บวกกับการช่วยบริหารจัดการประชากรแรดเป็นหลัก

โดยตั้งแต่ที่พวกมันลดจำนวนลงอย่างน่าใจหายในช่วงปี 1970 และ 1990 ทางแอฟริกาก็ได้มีการปรับปรุงกฎหมายควบคุมการล่ามาเสมอ อย่างไรก็ตามด้วยปัญหาในประเทศหลายๆ อย่าง ทำให้กว่าที่การบังคับใช้ดังกล่าวจะส่งผลมันก็เมื่อไม่นานมานี้เท่านั้น

 

 

 

อ้างอิงจากข้อมูลของทาง ICUN แรดดำนั้น ในช่วงปี 2018 ได้ถูกล่าลดลงเหลือเพียง 769 ตัวต่อปีเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นตัวเลข 2.4 ตัวต่อวัน ซึ่งแม้จะยังดูเยอะ แต่ก็ลดลงจากในปี 2015 ที่มีการล่าแรดอยู่ถึง 3.7 ตัว

เท่านั้นยังไม่พอ ในปีต่อมา (2019) ตัวเลขดังกล่าวก็ยังลดลงอีกจนเหลือเพียง 594 ตัวต่อปี หรือราวๆ 1.6 ตัวต่อวันเท่านั้นด้วย แถมจากการประเมินในเบื้องต้นการเพิ่มขึ้นที่ว่านี้ก็อาจจะคงอยู่ต่อไปอีกอย่างต่ำๆ 5 ปีเลยด้วย

 

 

นี่ถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง และหากเป็นแบบนี้ต่อไป มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นแรดที่เคยเกือบสูญพันธุ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ในจุดที่ปลอดภัยอีกครั้งก็ได้

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามด้วยปริมาณการเพิ่มขึ้นของแรดที่ยังถือว่าค่อนข้างช้าเช่นนี้ หนทางการฟื้นตัวของแรดนั้น ในปัจจุบันจึงยังคงต้องใช้เวลาและความพยายามในการอนุรักษ์อีกมากอยู่ดี

 

ที่มา iflscience, independent


Tags:

Comments

ใส่ความเห็น