CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

SpaceX ประสบความสำเร็จในการทดลอง จงใจทำลายจรวดทดสอบระบบดีดแคปซูล

นับว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งของวงการสำรวจอวกาศเลยก็ว่าได้ เมื่อบริษัทขนส่งทางอวกาศเอกชนอย่าง SpaceX ได้มีการออกมาเปิดเผยภาพการทดสอบจรวดสุดแปลก ซึ่งทางบริษัทจะมีการจงใจทำลายจรวดของตัวเอง ในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา

ในการทดลองครั้งนี้ ทางบริษัท SpaceX ได้ทำการปล่อยจรวด Falcon ซึ่งมีการบรรจุแคปซูล  Dragon พร้อมหุ่นทดลองเอาไว้ ขึ้นจากศูนย์อวกาศเคนเนดีของนาซา ในเคปคานาเวอรัล ก่อนที่ราวๆ 1 นาทีหลังจากตัวยานเข้าสู่การบินด้วยความเร็วเหนือเสียง ระบบเครื่องยนต์ของจรวดจะถูกปิดลง

 

การปล่อยจรวด Falconในการทดลองเมื่อวันที่ 19 มกราคม

 

อ้างอิงจากทาง SpaceX การกระทำในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อการทดสอบระบบดีดแคปซูล Dragon ในกรณีที่ตัวจรวดเกิดความผิดปกติ ซึ่งมีการวางแผนกันมาอย่างยาวนาน และเคยมีการประกาศกำหนดการไป ตั้งแต่ในวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา (เดิมทีแล้วมีกำหนดการปล่อยในวันเสาร์ที่ 18 แต่ก็ถูกเลื่อนจากการที่คลื่นในทะเลไม่เป็นใจ)

โดยภายในการทดลองครั้งนี้ เมื่อถูกดีดตัวออกจากจรวด แคปซูล Dragon ได้อาศัยจรวดขับดัน 8 ตัวซึ่งถูกติดตั้งไว้รอบๆ แคปซูลในการบินออกห่างจากจรวด Falcon ก่อนที่ตัวจรวดจะระเบิดไปกลางอากาศในเวลาต่อมา

 

จรวด Falcon ระเบิดกลางอากาศหลัง แคปซูล Dragon ดีดตัวออกไป

 

จากนั้นแคปซูล Dragon ได้ทำการปล่อยร่มชูชีพออกมาเมื่ออยู่ในระดับความสูงที่ราวๆ 43 กิโลเมตร และค่อยๆ ร่อนลงมาที่จุดเก็บกู้บริเวณน่านน้ำมหาสมุทรแอตแลนติกในที่สุด

การทดลองในครั้งนี้เบ็ดเสร็จแล้วใช้เวลาไปทั้งสิ้น 9 นาทีในการบิน และจบลงด้วยความสำเร็จไม่มีเหตุการณ์เหนือความคาดหมายใดๆ

 

แคปซูล Dragon ปล่อยร่มชูชีพราวๆ 4 นาทีหลังจากทดลองเริ่มขึ้น

 

นี่นับว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของทาง SpaceX เลยก็ว่าได้ เพราะการทดสอบครั้งนี้นถือว่าเป็นเครื่องกีดขวางชิ้นสุดท้ายของบริษัทก่อนการส่งตัวนักบินอวกาศนาซา 2 คนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติอย่างเป็นทางการ

ซึ่งด้วยความเร็วในการดำเนินงานในปัจจุบัน ทางนาซาก็คาดไว้ว่าพวกเราอาจจะได้เห็นการส่งตัวนักบินดังกล่าว อย่างเร็วที่สุดในเดือนมีนาคมนี้เลย

 

วิดีโอบันทึกภาพการทดลองแบบเต็มๆ จาก SpaceX


ที่มา foxnews, space และ nytimes


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น