มันเป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าโลกมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มาอย่างยาวนาน แต่คำว่ายาวนานที่ว่านั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่กลับยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบให้ได้
ดังนั้นมันจึงถือว่าเป็นข่าวค่อนข้างดีของนักวิทยาศาสตร์หลายๆ ฝ่ายทั่วโลก เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ออกมาประกาศในวันพฤษหัสบดีที่ 26 กันยายน 2019
ว่าพวกเขาได้ทำการค้นพบสิ่งมีชีวิตยุคแรกสุดที่ปรากฎตัวขึ้นมาบนโลกนี้เข้าแล้ว มีข้อมูลอยู่ภายในก้อนหินอายุ 3,500 ล้านปีจากประเทศออสเตรเลีย
อ้างอิงจากนักวิทยาศาสตร์ หินเก่าแก่ก้อนนี้เป็นสิ่งที่เรียกกันว่า “สโตรมาโตไลต์” ถูกค้นพบครั้งแรกที่ชั้นหิน Dresser Formation ในทางตะวันตกของออสเตรเลียตั้งแต่เมื่อช่วงยุค 1980 แต่เพิ่งจะสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างจุลินทรีย์ได้เมื่อไม่นานนี้
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการวิจัยก้อนหินชิ้นนี้ พวกเขาได้รู้สึกตัวถึงลวดลายบนหินที่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งมีตัวต้นจริงๆ เป็นจุลินทรีย์นับล้านตัว รวมตัวกันเป็นกระจุกและกลายเป็นฟอสซิลไป
และสามารถตรวจสอบได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนกำลังสูง เทคโนโลยีสเปกโตรสโคปี และการวิเคราะห์ไอโซโทป
ด้วยอายุของหินที่พบทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจุลินทรีย์เหล่านี้ น่าจะมีชีวิตขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ช่วงเวลา 1,000 ล้านปีหลังจากโลกก่อตัวขึ้นเท่านั้น (โลกอายุราวๆ 4,500 ล้านปี) ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่หลายๆ คนเคยคิด และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่น่าสนใจของดาวอีกดวงใกล้ๆ เราด้วย
นั่นเพราะ ชั้นหินในแถบทะเลทรายของออสเตรเลียอันเป็นสถานที่ที่สโตรมาโตไลต์ถูกพบนั้น มีอายุเท่าๆ กับเปลือกของดาวอังคารเลย
ดังนั้นบนดาวอังคารเพื่อนบ้านก็อาจจมีสโตรมาโตไลต์ที่มีจุลินทรีย์อยู่ภายในเช่นกัน ซึ่งความเป็นไปได้นี้ก็ทำให้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางนาซาได้เข้ามาร่วมศึกษาหินดังกล่าวในเขต Pilbara ของออสเตรเลียด้วย
“หินโบราณของออสเตรเลียและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเรากำลังทำสิ่งที่มีความสำคัญต่อการค้นหาชีวิตนอกโลกและไขความลับของดาวอังคารอยู่”
คุณ Martin Van Kranendonk ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์หนึ่งในทีมนักวิจัยกล่าวอย่างภูมิใจ
ที่มา livescience, cnet, thesun และ geoscienceworld
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น