CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

งานวิจัยใหม่ชี้ ขอบกาแล็กซีทางช้างเผือก จริงๆ แล้วอาจอยู่ไกลกว่าที่เราคิดกว่า 7 เท่า

คำว่าสุดขอบกาแล็กซี (Galaxy Edge) สำหรับแฟนๆ Star Wars แล้วอาจจะตั้งอยู่ที่ดิสนีย์แลนด์ในแคลิฟอร์เนียหรือไม่ก็ฟลอริด้า อย่างไรก็ตามหากเราถามคำถามเดียวกันนี้กัลนักดาราศาสตร์ เรื่องราวเกี่ยวกับขอบกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา จะกลายเป็นอะไรที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก

อ้างอิงจากงานวิจัยในอดีต กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและหอดูดาวไกอาได้เคยสร้างแผนที่ที่ระบุไว้ว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกนั้นน่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ราวๆ 258,000 ปีแสง ซึ่งแค่ตัวเลขตรงนี้ก็ถือว่าเป็นอะไรที่มากอยู่แล้ว

 

 

แต่เมื่อล่าสุดนี้เองในงานวิจัยชิ้นใหม่ที่มีกำหนดการจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร arXiv นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอแรม ประเทศอังกฤษ กลับได้มีการออกมาบอกว่า ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางกาแล็กซีทางช้างเผือกนั้น แท้จริงแล้วอาจจะกว้างได้ถึง 1.9 ล้านปีแสง หรือมากกว่าที่เราเคยคาดไว้กว่า 7 เท่าเลย

ถ้าอย่างนั้นอะไรกันที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าการคำนวณของหอดูดาวไกอามีความคลาดเคลื่อนกัน? สำหรับคำถามนี้ ทีมวิจัยได้บอกว่าปัญหาในการคำนวณในอดีตนั้นคือพวกเขาอาจจะไม่ได้คำนึงถึง “สสารมืด” หรือ “Dark matter” เอาไว้

โดยเจ้าสสารที่ว่านี้เป็นสสารที่แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นมัน แต่มันก็เป็นสิ่งที่มีตัวต้นอยู่จริงๆ โดยที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าสารเหล่านี้จะอยู่รอบๆ สสารอื่นๆ ที่มองเห็นได้ในอวกาศอีกที

 

 

และสิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกจริงๆ แล้วอาจจะกว้างกว่าที่เราคิด ก็มาจากการที่กาแล็กซีของเราอาจถูกห่อหุ้มด้วยสสารมืดในลักษณะคล้ายวงแหวนนั่นเอง

อ้างอิงจากคุณ Alis Deason นักเขียนหลักของงานวิจัยเธอและทีมงานสามารถคำนวณหา ขนาดของวงแหวนสสารมืดที่ไม่น่าจะมองเห็นเหล่านี้ได้ โดยอาศัยการตรวจวัดระยะห่างกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรากับวัตถุขนาดใหญ่ที่อยู่ใหญ่เคียงอื่นๆ เช่นกาแล็กซีแอนดรอมิดา

โดยเธอและทีมงาน ทำการตรวจวัดดังกล่าวด้วยการจำลองสถานการณ์แบบเฉพาะที่แตกต่างกันไปหลายแบบ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์อีกที ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมไปถึงสถานการณ์ที่วงแหวนสสารมืดมีความโค้ง เช่นเดียวกับลักษณะส่วนปลายของกาแล็กซีทางช้างเผือกเอง หรือมีรูปร่างเป็นทรงกลมด้วย

 

หนึ่งในภาพจำลองวงแหวนสสารมืด

 

เท่านั้นยังไม่พอนอกจากการจำลองผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วทีมวิจัยกลุ่มนี้ยังมีการด้วยสอบกาแล็กซีแคระของจริงที่อยู่รอบๆ ทางช้างเผือกผ่านกล้องโทรทรรศน์ด้วย

ซึ่งในการสำรวจขั้นนี้เองที่พวกเธอพบว่า กาแล็กซีแคระจะมีความเร็วแนวเล็ง (radial velocity) ลดลงเล็กน้อย ทันทีที่เข้าใกล้ทางช้างเผือกในระยะ 950,000 ปีแสงด้วย แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ดังกล่าวอาจจะมีอะไรที่เรามองไม่เห็นอยู่ได้เป็นอย่างดี

 

 

แน่นอนว่าการจะฟันธงขนาดของกาแล็กซีทางช้างเผือกด้วยงานวิจัยชิ้นนี้เพียงชิ้นเดียวนั้นอาจจะเป็นอะไรที่ดูด่วนตัดสินใจเกินไปอยู่บ้าง

แต่อย่างน้อยๆ ทั้งคุณ Alis Deason และทีมงานก็หวังว่า ในอนาคตข้อมูลของพวกเธอจะมีประโยชน์ในการตรวจวัดเส้นขอบของกาแล็กซีทางช้างเผือกในภายหน้า แม้ว่าตัวเลขที่ออกมาอาจจะไม่ตรงกับที่พวกเธอคิดก็ตาม

 

ที่มา iflscience, arxiv และ sciencealert


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น