CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทยาศาสตร์พบ “ตัวนำยวดยิ่ง” จากนอกโลกเป็นครั้งแรก ซ่อนอยู่ภายในอุกกาบาต 2 ลูก

เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่องราวของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่ชื่อ “สภาพนำยวดยิ่ง” (Superconductivity) กันมาก่อนไหม?

นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับวัสดุบางชนิดเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำมาก ซึ่งจะทำให้มันมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ และไม่มีสนามแม่เหล็ก ทำให้มันมีความสามารถในการเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีเอามากๆ โดยเจ้าวัตถุที่มีสภาพนำยวดยิ่งนั้นจะถูกเรียกกันว่า “ตัวนำยวดยิ่ง” (Superconductor) อีกทีหนึ่ง

 

หนึ่งในความสามารถของตัวนำยวดยิ่ง คือปรากฏการณ์ “ไมสเนอร์”

ปรากฏการณ์นี้เกิดจาก การแบนสนามพลังแม่เหล็กที่อยู่รอบๆ ตัวนำยวดยิ่งออก ซึ่งทำให้เราสามารถเห็นตัวนำยวดยิ่งหลายชนิดลอยได้หากมันมีอุณหภูมิต่ำในระดับหนึ่ง

 

ตัวนำยวดยิ่งนั้น แม้ว่าจะไม่ใช่วัตถุที่เราเพิ่งจะค้นพบก็ตาม แต่มันก็ไม่ใช่อะไรที่จะพบได้บ่อยๆ ในธรรมชาติด้วย ดังนั้น เมื่อล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์จึงได้รู้สึกแปลกใจกันเป็นอย่างมากเพราะในการตรวจสอบอุกกาบาต 15 ลูก ซึ่งถูกพบในหลายพื้นที่ทั่วโลก พวกเขาก็พบว่า

ในบรรดาอุกกาบาตเหล่านี้ มีอยู่มากถึง 2 ลูกที่มีองค์ประกอบที่มีลักษณะของตัวนำยวดยิ่ง และทำให้มันกลายเป็นตัวอย่างของตัวนำยวดยิ่งจากนอกโลก ชุดแรกที่เราเคยพบมาไป

อ้างอิงจากข้อมูลที่ออกมา อุกกาบาตสองชิ้นที่มีการพบตัวนำยวดยิ่งนั้นมีชื่อว่า “Mundrabilla” และ “GRA 95205” โดยทั้งสองเป็นอุกกาบาตจากช่วงเวลาเก่าแก่ของระบบสุริยะ และเก็บเอาตัวนำยวดยิ่งไว้ในฐานะของโลหะผสมระหว่างดีบุกและอินเดียมซึ่งเป็นโลหะที่ไม่ใช่ด่างที่อ่อนที่สุด

 

อุกกาบาต Mundrabilla

 

“สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการค้นพบครั้งนี้ คือการที่เราทราบว่ามีตัวนำยิ่งยวดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อยู่เหนือท้องฟ้าด้วย” คุณ Ivan Schuller จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย นักเขียนหลักของงานวิจัยกล่าว ซึ่งสำหรับเขาแล้วการค้นพบในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความรู้ของพวกเรากับสภาพแวดล้อมทางดาราศาสตร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เพราะการที่เรามีตัวนำยิ่งยวดตามธรรมชาติอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบอวกาศที่เย็นจัดเช่นนี้ มันจะไม่ใช่เรื่องแปลกเลยหากที่ไหนสักแห่งในอวกาศอันกว้างใหญ่นี้ นำยิ่งยวดตามธรรมชาติจะมีผลกระทบถึงขนาดปรับเปลี่ยนการก่อตัว รูปร่าง ต้นกำเนิดของสนามแม่เหล็ก หรือแม้แต่ การเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุ ของดวงดาวทั้งดวงได้

 

ชิ้นส่วนอุกกาบาต Mundrabilla ที่มีการพบตัวนำยวดยิ่ง

 

ซึ่งนั่นหมายความว่าในที่ใดที่หนึ่งในจักรวาล เราก็อาจจะยังมีดวงดาวหรือปรากฏการณ์แบบใหม่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพนำยวดยิ่ง แต่เรายังไม่รู้จักอยู่อีกมากเลยก็เป็นได้

 

ที่มา sciencealert, gizmodo และ foxnews


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น