ณ ขณะนี้ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาถูกแพร่กระจายออกไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ตามหน้าสื่อหรือตามเว็บไซต์ทั่วไปต่างนำเสนอในประเด็นนี้กันทุกวันและทุกชั่วโมง เพื่อรายงานสถานการณ์ทั้งในจีนและทั่วโลกเพื่อความต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี ภายในโซเชียลมีเดียเองต่างมีการสร้างหรือนำเสนอข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับไวรัสในหลายประเด็น ซึ่งการอ้างเหล่านี้อาจทำให้คนหลงเชื่อในข้อมูลเหล่านั้นและนำไปกระจายต่อจนเข้าใจผิดยกใหญ่
1. ดื่มน้ำยาฟอกผ้าขาวช่วยรักษาไวรัสโคโรนา
ในสหรัฐอเมริกามีนักทฤษฎีสมคบคิดระบุว่า หากชาวอเมริกันคนใดติดเชื้อในดื่มสารหรือน้ำยาฟอกผ้าขาว ที่มีส่วนประกอบของคลอรีนไดออกไซด์
ทางด้านองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ออกมาเตือนทันทีว่าหากดื่มเข้าไปจะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ อย่างเช่นตับล้มเหลวและความดันในเลือดต่ำ อีกทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่ายังไม่มีวิธีการรักษาใดๆ สำหรับไวรัสตัวนี้
2. คลื่น 5G ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
เรื่องนี้ปรากฎอยู่บนโลกโซเชียลฝั่งอังกฤษ เริ่มต้นจาก Stynes Robert โพสต์ภาพระบุข้อความว่าคลื่น 5G ในอู่ฮั่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง (โพสต์ลงในกลุ่มต่อต้านคลื่น 5G ของอังกฤษ)
อย่างไรก็ดี การทดลองใช้คลื่น 5G ในประเทศจีนนั้นเริ่มต้นใช้งานในเมืองใหญ่ของจีนมาสักพักใหญ่แล้ว แต่สำหรับตัวคลื่น 5G ไม่ได้มีส่วนในการทำลาย DNA ของมนุษย์หรือระบบภูมิคุ้มกันใดๆ (รายงานจาก Full Fact)
3. เบียร์ไวรัสโคโรนา
กลายเป็นคำค้นหายอดนิยมที่พุ่งสูงขึ้นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อชื่อของไวรัสตัวนี้สอดคล้องกับยี่ห้อเบียร์สัญชาติเม็กซิกัน ‘โคโรนา’ ทำให้การค้นหา Corona Beer Virus ในกูเกิลเพิ่มขึ้นเป็น 2,300%
ทั้งนี้เบียร์โคโรนากับไวรัสโคโรนานั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันแม้แต่นิดเดียว
4. มหัศจรรย์วิตามินซี ยาดีที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
ประเด็นนี้ถูกปั่นขึ้นมาโดยกลุ่มผู้ต่อต้านวัคซีนสนับสนุนธรรมชาติบำบัด แชร์ข้อมูลบนโซเชียลระบุว่าวิตามินซี น้ำมันออริกาโน หรือแม้แต่น้ำทะเลสามารถป้องกันหรือรักษาไวรัสโคโรนาได้
หนึ่งในนั้นคือนาย Larry Cook ลงทุนโพสต์คลิปวิดีโอให้ข้อมูลเพื่อโปรโมตวิตามินซีในการป้องกันไวรัสชนิดนี้
อย่างไรก็ดีทางเว็บไซต์ New Scientist ระบุว่าต้องใช้เวลานานเป็นปีเพื่อที่จะผลิตวัคซีนในการยับยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
5. อาวุธชีวภาพ
จากการรายงานข่าวครั้งแรกที่ไวรัสเริ่มแพร่ระบาดมาจากตลาดอาหารทะเลในอู่ฮั่น เกิดเป็นทฤษฎีสมคบคิดยอดนิยมชี้ว่าไวรัสคืออาวุธชีวภาพที่จงใจสร้างขึ้นมา…
ทางผู้เชี่ยวชาญปฏิเสธให้น้ำหนักในส่วนนี้เนื่องจากไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันได้ และแน่นอนว่าการคาดเดาเช่นนี้ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นมา
6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จีนหรือสถานที่ที่มีคนจีน
This media release is 100% FAKE!!! FAKE!!! FAKE!!! I don't normally like to give any credence to ppl who seek to malign our community but wanted to make things clear this time.
To get latest updates go to the Queensland Health website & FB page. Any questions call 13HEALTH. pic.twitter.com/mIW2XVKTH7
— Duncan Pegg MP (@DuncanPeggMP) January 27, 2020
ในพื้นที่โซเชียลของฝั่งออสเตรเลีย เกิดการกระจายข้อมูลคำแนะนำและคำเตือนจากทางหน่วยงานรัฐที่ระบุว่าให้หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่อย่างที่เกี่ยวกับจีน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่มีคนจีนหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับจีน
นาย Duncan Pegg สมาชิกสภาบริสเบนระบุว่าข้อความข้างต้นเป็นของปลอม ขอให้ติดตามจากหน้าเว็บไซต์และเพจของหน่วยงานสาธารณสุขควีนส์แลนด์โดยตรง
ตามมาด้วยศูนย์ดูแลเล็กกระจายคำแนะนำผิดๆ ที่ได้รับมาเกี่ยวกับสถานีรถไฟกลายเป็นสถานที่แพร่เชื้อไวรัสในออสเตรเลีย รวมถึงอาหารจีน
https://www.facebook.com/NewSouthWalesHealth/photos/a.232420926957256/1211158705750135/
อย่างไรก็ดี ทางสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ระบุว่าประชาชนหวาดกลัวที่จะทานอาหารบางชนิดหรือไม่กล้าออกไปตามสถานที่ต่างๆ ในซิดนีย์
ทางการประกาศว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับไวรัสเลย รวมถึงชื่อหน่วยงาน Department of Diseasology Parramatta ก็ไม่มีอยู่จริง จึงอยากให้ประชาชนมั่นใจว่าสถานที่ต่างๆ ที่ถูกรวบเป็นรายชื่อแพร่กระจายไวรัสนั้นไม่เป็นความจริง
7. ไวรัสโคโรนาทำให้กลายเป็นซอมบี้
Tiga fakta novel coronavirus 2019 yang perlu ditular.
1. Tidak benar dakwaan individu yang dijangkiti virus ini berkelakuan seperti ZOMBIE. ❌
2. Pesakit boleh SEMBUH. ✔️Rawatan simptom yg dialami pesakit. Jika demam, rawatan untuk baik demam.
— KKMalaysia🇲🇾🩺❤️ (@KKMPutrajaya) January 31, 2020
ในโลกโซเชียลของมาเลเซียมีการแพร่กระจายข่าวลือที่ว่าใครติดเชื้อไวรัสโคโรนาแล้วจะกลายเป็นซอมบี้ ด้านคณะกรรมการการสื่อสารและมัลติมีเดียออกมาแถลงเลยว่าไม่เป็นความจริง
ผู้ติดเชื้อไวรัสเป็นเหมือนไข้หวัดและสามารถรักษาให้หายได้ พร้อมกับจับกุมคนปล่อยข่าวลือไป 6 ราย
ที่มา: mothership, businessinsider, cna, fda, reuters
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น