CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

พบฟอสซิล “Ferrodraco lentoni” สัตว์เลื้อยคลานบินได้สายพันธุ์ใหม่ ในประเทศออสเตรเลีย

ย้อนกลับไปในอดีตเมื่อราวๆ 96 ล้านปีก่อน ในพื้นที่ที่ในปัจจุบันจะกลายเป็นรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ยังมีเทอโรซอร์สัตว์เลื้อยคลานบินได้ขนาดใหญ่โตสายพันธุ์หนึ่ง โบยบินอยู่ด้วยปีกที่กว้างกว่า 4 เมตร

 

 

และแล้วเมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายล้านปี ในที่สุดฟอสซิลของเทอโรซอร์สายพันธุ์นี้ก็ถูกค้นพบขึ้นมาอีกครั้ง และกลายเป็นเทอโรซอร์สายพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่มีการค้นพบบนโลก

เทอโรซอร์สายพันธุ์นี้ ได้รับชื่อสุดเท่จากนักวิทยาศาสตร์ว่า “Ferrodraco lentoni” หรือ “มังกรเหล็กของเลนตัน” เพื่อเป็นเกียรติให้กับ “เกรแฮม ‘บุทช์’ เลนตัน” อดีตนายกเทศมนตรีผู้บุกเบิกแห่งเมืองวินตัน ผู้เสียชีวิตไปในปี 2017

 

คุณเกรแฮม “บุทช์” เลนตัน ผู้ที่ได้รับเกียรตินำชื่อมาตั้งชื่อเทอโรซอร์ที่พบ

 

ฟอสซิลของมันถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในธารน้ำแข็งเมื่อปี 2017 ในสภาพสมบูรณ์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยยังมีทั้งชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลังห้าชิ้น และองค์ประกอบของปีก

เมื่อดูจากกะโหลกที่ค่อนข้างยาวแล้ว นักบรรพชีวินก็คาดการณ์ว่า เทอโรซอร์ตัวนี้น่าจะกินปลาเป็นอาหารหลัก และเคยอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดียวกับไดโนเสาร์อย่างซอโรพอด เทโรพอด ออร์นิโธพอด และแองคิโลซอรัสมาก่อน

 

 

Ferrodraco lentoni ยังมีมีลักษณะที่คล้ายกับเทอโรซอร์อื่นๆ ที่พบในอังกฤษอีกด้วย ดังนั้นการค้นพบในครั้งนี้จึงช่วยเสริมความเป็นไปได้ว่าพวกมันในอดีตจะมีการบินข้ามโลกด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง อันเป็นทฤษฎีที่มีการสันนิษฐานขึ้นมานานแล้ว แต่มีหลักฐานไม่เพียงพอ

และแม้ว่าในปัจจุบันนักบรรพชีวินจะยังคงต้องมีการทดลองอีกมากกับ Ferrodraco lentoni เพื่อที่จะยืนยันว่าเทอโรซอร์มีการบินข้ามโลกจริงๆ หรือไม่ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มังกรเหล็กของเลนตันตัวนี้เป็นตัวอย่างของเทอโรซอร์ที่สำคัญที่สุดของออสเตรเลียในปัจจุบัน

 

ที่มา sciencealert, foxnews, theguardian


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น