CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

รัสเซียประกาศภาวะฉุกเฉิน เกิดเหตุน้ำมันเชื้อเพลิง 20,000 ตัน รั่วไหลปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ

ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมโนริลสค์ หลังจากเกิดอุบัติเหตน้ำมันดีเซล 2 หมื่นตันรั่วไหลปนเปื้อนลงแม่น้ำแถบขั้วโลกเหนือ ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการจัดการน้ำมันที่ยากกว่าน้ำมันดิบ

 

 

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติในครั้งนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ถังน้ำมันในโรงไฟฟ้าของบริษัทเหมืองแร่ ใกล้กับเมืองโนริลสค์ เกิดความเสียหายเมื่อวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2020

ทำให้น้ำมันดีเซลจำนวน 20,000 ตันรั่วไหลลงแม่น้ำ Ambarnaya บริเวณตอนกลางของขั้วโลกเหนือหรือ Arctic Circle

 

.

.

 

เมื่อน้ำมันดีเซลรั่วไหลปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติก่อให้เกิดการกระจายตัวของน้ำมันไปไกลจากจุดเกิดเหตุหลายกิโลเมตร และเปลี่ยนสีน้ำในแม่น้ำให้กลายเป็นสีแดง

 

.

 

ทั้งนี้หลังจากเกิดปัญหาน้ำมันรั่วไหลลงแหล่งน้ำ Norilsk Nickel บริษัทเหมืองแร่และโลหะ ผู้ผลิตนิกเกิลและแพลเลเดียมในรัสเซียกลับไม่ได้รายงานสถานการณ์ให้ทางการได้รับทราบ

กว่าหน่วยงานรัฐจะทราบเรื่องก็เป็นเวลา 2 วันหลังจากที่เกิดเหตุไปแล้ว และเป็นการทราบเรื่องจากสื่อโซเชียลมีเดีย

 

 

เมื่อรัฐทราบเรื่องจึงได้จัดการระดมพลเจ้าหน้าที่เพื่อจัดการปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วไหลออกมา แต่ด้วยสภาพของแม่น้ำที่ตื้นจนไม่สามารถนำเรือเข้าไปเก็บกวาดได้ เป็นพื้นที่ห่างไกลยากต่อการเดินทางเข้าถึง

รวมทั้งปัญหาของน้ำมันดีเซลที่มีความเบาบางกว่าน้ำมันดิบอื่นๆ ที่มีการระเหยและเป็นพิษปนเปื้อนกำจัดได้ยาก

 

.

 

อย่างไรก็ตาม ทางรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมรัสเซียวิธีการจัดการด้วยการเผาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับนำเสนอมานั้นยังมีความเสี่ยงมากเกินไป และจะใช้วิธีการควบคุมเขตการกระจายตัวของน้ำและสูบน้ำที่ปนเปื้อนออกมาอย่างต่อเนื่อง

 

 

ซึ่งจากการรายงานเบื้องต้นสามารถสูบน้ำมันที่ปนเปื้อนออกมาได้เพียง 262 ตันเท่านั้น และจะต้องมีการติดตามถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ นก และสัตว์ป่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

 

 

เรียบเรียงโดย #เหมียวเลเซอร์

ที่มา: dailymail, cbsnews, businessinsider, siberiantimes


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น