CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักดาราศาสตร์พบ ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกดวงใหม่ อยู่ห่างออกไป 31 ปีแสง

เป็นเรื่องที่เราทราบกันว่าในปัจจุบันมนุษย์เรามีโครงการเกี่ยวกับการสำรวจอวกาศอยู่เป็นจำนวนมาก และในบรรดาโครงการเหล่านั้น ดาวเทียมสำรวจและค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอย่างดาวเทียม “TESS” (Transiting Exoplanet Survey Satellite) ก็นับว่ามีบทบาทเป็นอย่างมากในการสำรวจดวงดาวที่ห่างไกลเลย

 

 

นั่นเพราะด้วยความสามารถของดาวเทียมดวงนี้ ตั้งแต่ในอดีตมามนุษย์เราก็มีการค้นพบดวงดาวใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก แถมยังมีส่วนช่วยในการตรวจสอบซูเปอร์โนวาบางประเภทได้ด้วย

และแล้วเมื่อล่าสุดนี้เองดาวเทียม TESS นั้นก็สร้างผลงานที่น่าสนใจอีกครั้งเมื่อมัน ได้ทำการค้นพบดาวดวงใหม่ ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า “ซูเปอร์เอิร์ธ” หรือดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกแต่มีมวลมากกว่า ห่างออกไปจากโลกในระยะทางเพียงแค่ 31 ปีแสงเท่านั้น

 

 

ดาวเคราะห์ที่ถูกพบในครั้งนี้นั้นมีชื่อว่า GJ 357 d ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ GJ 357 ภายในกลุ่มดาวไฮดรา พร้อมๆ กับดาวดาวเคราะห์อื่นๆ อีก 2 ดวง

โดยดาวเคราะห์ดวงนี้นั้นไม่เพียงแต่จะมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 22% เท่านั้น แต่มันยังมีมวลมากกว่าโลกถึง 6.1 เท่า แถมโคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ GJ 357 ในระยะห่างที่มากพอที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ได้อีกด้วย

 

 

อ้างอิงจากทีมนักวิทยาศาสตร์ดาวฤกษ์ GJ 3570 นั้น มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่าดวงอาทิตย์ของโลก ดังนั้นจึงเป็นไปได้สูงว่าอากาศบนดาวเคราะห์ GJ 357 d จะต่ำกว่าบนโลกถึงราวๆ 40% ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่มากอยู่ แต่ก็ยังเป็นอุณหภูมิที่ไม่น้อยไปและไม่มากไปอยู่ดี

แต่ก็น่าเสียดายที่ในปัจจุบันทีมนักดาราศาสตร์นั้นยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าบรรยากาศของดาวเคราะห์ GJ 357 d นั้นหนาแน่นพอที่จะทำให้เกิดของเหลวบนดาวซึ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตจริงๆ หรือไม่

 

 

ดังนั้นก่อนที่เราจะดีใจกันว่ามนุษย์จะได้บ้านหลังใหม่แล้ว ทีมนักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงต้องทำการสำรวจดาวดวงนี้กันต่อไปอีกนานเลย

 

ที่มา unilad, standardmedia, cnet


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น