นักดาราศาสตร์ค้นพบซูเปอร์เอิร์ธ 2 ดวง ในระบบดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากโลกของเราไป 11 ปีแสง โดย 1 ปีแสงจะมีระยะเท่ากับ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร เมื่อนำ 9,460,730,472,580.8 x 11 ก็จะเท่ากับ 104,068,035,198,388.8 กิโลเมตร
สำหรับดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธทั้ง 2 ดวงนั้นอยู่นอกเขตที่สามารถอยู่อาศัยได้ในกลุ่มของดาวฤกษ์แคระแดง Gliese 887 ถือว่าเป็นหนึ่งในดาวแคระแดงที่สว่างเจิดจ้าที่สุดในจักรวาล (ที่ค้นพบ) โดยจะมีน้ำที่เป็นของเหลวบนดาวเคราะห์และมีพื้นผิวเป็นผืนหิน และอาจจะมีความอบอุ่นมากเกินไปต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต
ซูเปอร์เอิร์ธคืออะไร? จากคำอธิบายของ University of Göttingen ระบุเอาไว้ว่าเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลก แต่มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างยูเรนัสและเนปจูน
และด้วยการค้นพบครั้งล่าสุดนี้ ทีมนักดาราศาสตร์ก็หวังว่าจะสามารถวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศของมันได้ในไม่ช้า
จากการนำทีมนักดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกในโปรเจกต์ RedDots ด้วยการใช้อุปกรณ์ High Accuracy Radial velocity Planet Searcher (HARPS) จากหอดูดาว European Southern Observatory ในประเทศชิลี
Gliese 887 เป็นดาวฤกษ์แคระแดงขนาดเล็ก และมีมวลครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์
พวกเขาทำการเฝ้าสังเกตเป็นเวลานานถึง 80 วัน หลังจากที่พบว่ามีอาการส่ายไปมาเล็กน้อย อันเป็นเบาะแสระบุว่าต้องมีดาวเคราะห์โคจรเป็นบริวารอยู่ใกล้เคียง จนกระทั่งพบกับ Gliese 887b และ Gliese 887c โดยตั้งชื่อตามดาวฤกษ์แม่ของมัน
Dr Sandra Jeffers ผู้นำทีมนักดาราศาสตร์ได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า ดาวเคราะห์เหล่านี้อาจมีความเป็นไปได้สูงสำหรับการศึกษาและการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกระบบสุริยะของเรา
ทั้งนี้ซูเปอร์เอิร์ธทั้งสองโคจรอยู่ใกล้ดาวแม่มาก Gliese 887b โคจรรอบดาวแม่ครบหนึ่งรอบ 9.3 วัน และ Gliese 887c จะโคจรรอบดาวแม่ครบหนึ่งรอบที่ 21.8 วัน ถือว่าเป็นอัตราโคจรที่เร็วมากเมื่อเทียบกับดาวพุธที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ 88 วัน
ที่มา: uni-goettingen, cnn, washingtonpost, foxnews
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น