ในช่วงเวลาที่โลกของเรากำลังตกอยู่ในช่วงเวลาที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายอย่างไม่น่าเคยเช่นนี้ เชื่อว่าคงมีหลายคนไม่น้อยที่อยากจะหลบสายตาจากโลก และมองไปยังสิ่งงดงามในสถานที่อันห่างไกลกัน
ซึ่งก็ถือว่าเป็นโชคดีของเรามากที่พวกเรานั้นยังมีคนอยู่กลุ่มหนึ่งอย่างนาซาอยู่พอดีที่กำลังออกสำรวจอวกาศที่ว่านั่นอยู่ และเมื่อล่าสุดนี้เองพวกเขาก็พึ่งจะเปิดเผยภาพถ่ายสุดงดงามชุดใหม่ของดาวพฤหัสออกมาให้เราได้ชมกันแบบพอดิบพอดีเลยด้วย
ดังนั้นในโอกาสนี้ #เหมียวศรัทธา จึงได้นำภาพส่วนหนึ่งของดาวพฤหัสที่ได้รับการเปิดเผยออกมา มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน แต่จะงดงามขนาดไหนนั่น คงต้องให้เพื่อนๆ ไปชมกันเองที่ข้างล่างนี้เลย
เรามาเริ่มกันจากภาพถ่ายเพิ่มสีสันของชั้นบรรยากาศที่วุ่นวายของดาวพฤหัส
เมฆหมุนวนจำนวนมากที่ซ้อนทับกันในพื้นที่แถบเข็มขัดเขตอบอุ่นเหนือ ฝั่งเหนือของดาว
วิวของดาวที่ถ่ายมาจากยานอวกาศจูโนของนาซ่าในระหว่างการบินผ่านดาว
เมฆที่สับสนวุ่นวายราวกับงานศิลป์ทางตอนเหนือของดาว
เงาของดวงจันทร์ไอโอ บนดาวพฤหัสในระหว่างเกิดเหตุการณ์คล้ายสุริยุปราคาบนโลก
ภาพการก่อตัวของก้อนเมฆในพื้นที่รอบขั้วใต้ของดาวพฤหัส
เมฆของดาว ที่แสดงสีเป็นสีน้ำเงินฟ้า ตัดกับสีดาวตามปกติ
กระแสลมที่ทำให้เกิดพื้นที่คล้ายน้ำวนซึ่งมีจุดศูนย์กลางมืดมิดบนดาว
ความปั่นป่วนของบรรยากาศที่ซีกดาวใต้ของดาวพฤหัสบดี
ในรูปเป็นการบินไปถ่ายดาวในระยะใกล้ ซีกดาวใต้ของดาวเลยดูเหมือนอยู่ข้างบน
“จุดแดงใหญ่” พายุหมุนขนาดใหญ่บนดาวพฤหัสบดี ซึ่งปรากฏบริเวณซีกใต้ของดาว
ในรูปดาวกลับด้านอยู่
เข็มขัดเมฆและกระแสลมหมุนปั่นป่วนทางตอนเหนือของดาว
“Jet N3” หนึ่งในกระแสลมกรดที่รูปร่างค่อนข้างแปลกในทางเหนือของดาว
ภาพของ “String of Pearls” หนึ่งในแปดของพายุหมุนรอบตัวของดาวเคราะห์ยักษ์ก๊าซดวงนี้
กลมๆ สีขาวๆ ทางขวาในภาพ
พายุขนาดใหญ่ที่ขอบทางใต้ของพื้นที่ขั้วดาวเหนือของดาวพฤหัส
พายุสองลูกกำลังจะรวมตัวกันบนดาวพฤหัส
เมฆที่กำลังหมุนวนเป็นวงกลมภายในภูมิภาคที่เรียกว่า “Jet N6”
รูปแบบเมฆที่สลับซับซ้อนในซีกโลกเหนือของดาวพฤหัสบดี
ขั้วดาวใต้ของดาวพฤหัสบดี ส่วนจุดกลมๆ ที่เห็นคือพายุไซโคลนซึ่งอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 1,000 กิโลเมตร
“White Oval A5” เมฆสีขาวรูปวงรีหมุนวนในทางใต้ของดาวพฤหัส
และภาพแบบชัดๆ ของจุดแดงใหญ่บนดาว ซึ่งล้อมรอบไปด้วยเขตพื้นที่อากาศเชี่ยวกราก
ที่มา boredpanda
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น