CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ทำความรู้จัก “วัตถุของโฮแอก” ดาราจักรวงแหวนสุดงดงาม ที่ยังคงเต็มไปด้วยปริศนา

เพื่อนๆ เคยได้ยินเรื่องราวของดาราจักรชนิดวงแหวน ที่มีชื่อว่า “วัตถุของโฮแอก” (Hoag’s Object) กันมาก่อนไหม? นี่คือดาราจักรที่มีรูปร่างคล้ายวงแหวนที่สมบูรณ์แบบ ที่เต็มไปด้วยปริศนาในกลุ่มดาวงู ซึ่งกำลังกลายเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทางนาซาได้ทำการเปิดเผยภาพถ่ายภาพใหม่ของมันออกมา

 

 

วัตถุของโฮแอก ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ด้วยฝีมือของคุณ “อาร์ต โฮแอก” เมื่อ ค.ศ. 1950 โดยมันเป็น เป็นดาราจักรความกว้าง 100,000 ปีแสง (ใหญ่กว่าทางช้างเผือกของเราเล็กน้อย) ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มวลมากสีน้ำเงินจำนวนมหาศาล รายล้อมสสารส่องสว่างที่ส่วนใจกลาง และอยู่ห่างจากโลกไปราวๆ 600 ล้านปีแสง

ดาราจักรวงแหวนที่เราเห็นนี้ นับว่าเป็นหนึ่งในปริศนานับร้อยนับพันของจักรวาล ที่นักดาราศาสตร์ยังไม่อาจไขได้ และเราก็ไม่อาจทราบได้เลยด้วยซ้ำว่า เพราะเหตุใดวัตถุของโฮแอกจึงมีรูปร่างออกมางดงามได้ดังที่เราเห็น

 

วัตถุของโฮแอก (มุมขวาบน) ภายในกลุ่มดาวงู

 

นั่นเพราะหากสังเกตให้ดีๆ เราจะสามารถเห็นได้ว่าวงแหวนที่ประกอบขึ้นมาเป็นวัตถุของโฮแอก นั้นแท้จริงแล้วไม่ได้มีเพียงวงเดียวเท่านั้น แต่มีสภาพคล้ายวงแหวนหลายวงซ้อนกันโดยมี “ช่องว่าง” ระหว่างวงแหวน ซึ่งนักดาราศาสตร์สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดขึ้นได้จาก

1. การที่มีดาราจักรขนาดเล็กซ้อนอยู่ในดาราจักรขนาดใหญ่กว่า

2. วงแหวนประหลาดของดาราจักรนี้ เป็นเพียงภาพลวงตาที่เกิดจากเลนส์ความโน้มถ่วง (นี่เป็นทฤษฎีของอาร์ต โฮแอกเอง แต่ก็ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริงจากการพัฒนาของคุณภาพกล้องโทรทรรศน์)

3. การชนกันของดาราจักรสองอันที่ทำให้รูบนดาราจักรอันหนึ่ง ก่อนที่ดาราจักรที่เล็กกว่าจะถูกแรงดึงดูดดึงจน ดาราจักรทั้งสองรวมเป็นอันเดียวกัน

 

หนึ่งในภาพของวัตถุของโฮแอกในอดีต

 

แต่ไม่ว่าวัตถุของโฮแอกจะเกิดขึ้นเพราะอะไร เราก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าดาราจักรอันนี้ เป็นอะไรที่งดงามต้องตา และมีเสน่ห์ในความลึกลับอย่างไม่น่าเชื่อจริงๆ

และเราก็คงต้องขอบคุณนักธรณีฟิสิกส์อย่างคุณ Benoit Blanco และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ไม่น้อยเลย ที่ทำให้เราได้มีโอกาสชมภาพถ่ายใหม่ล่าสุดของดาราจักรสุดประหลาดชิ้นนี้

 

ที่มา livescience, thesun และ asgardia


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น