ณ สุสานจากยุคหิน ในแหล่งโบราณคดี “Houtaomuga” มณฑลจี๋หลิน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์จำนวน 25 ร่างที่มีความเก่าแก่ต่างๆ กันไปตั้งแต่ 5,000-12,000 ปี
ในบรรดาโครงกระดูกเหล่านั้น พวกเขาพบว่ามีกะโหลกอยู่ 11 ชิ้นที่รูปร่างที่แปลกตาไปจากปกติ โดยกะโหลกเหล่านี้มีส่วนหน้าผากที่แบนราบไปข้างหลังในขณะที่ส่วนท้ายทอยของกะโหลกมีความยาวมากกว่าคนปกติ
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่หัวกะโหลกของเอเลี่ยนที่ปะปนมากับมนุษย์แต่อย่างไร กลับกันมันคือหลักฐานอย่างดีของพิธีกรรมการดัดแปลงลักษณะร่างกายของคนเอเชียในอดีตต่างหาก
อ้างอิงจากข้อมูลของทีมนักวิจัย กะโหลกที่มีร่องรอยของการถูกดัดแปลง ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในช่วงปี 2011-2015 (แต่ในเวลานั้นยังไม่ถูกนำมาตรวจสอบ) และประกอบไปด้วยกะโหลกของผู้ชาย 4 ร่าง ผู้หญิง 2 ร่าง และเด็กอีก 6 ร่าง
โดยโครงกระดูกที่มีอายุน้อยที่สุดนั้นเสียชีวิตตั้งแต่อายุได้เพียง 3 ปี และโครงกระดูกที่มีอายุมากที่สุดเสียชีวิตเมื่ออายุได้ราวๆ 40 ปี
ภาพเปรียบเทียบกะโหลกที่ถูกดัดแปลงกับกะโหลกธรรมดา
การดัดแปลงกะโหลกนั้นมักจะเริ่มทำกันตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งกะโหลกของมนุษย์ยังนิ่ม ด้วยการพันผ้าหรือใช้ไม้กระดานทาบ
และแม้ว่าจะดูไม่ค่อยปลอดภัยก็ตาม แต่จากการตรวจสอบของนักวิจัยหลายๆ ฝ่ายแล้ว หากมีขั้นตอนการทำที่ถูกต้องการดัดแปลงกะโหลกเช่นนี้ก็ดูจะไม่มีผลกระทบกับระบบความรู้ความเข้าใจของสมองแต่อย่างไรเลยด้วย
ภาพเปรียบเทียบกะโหลกของเด็กอายุ 8 ขวบ
ในปัจจุบันทีมนักวิจัยยังไม่ทราบว่าสำหรับคนจีนในอดีตนั้น ทำการดัดแปลงกะโหลกด้วยเหตุผลอะไร
แต่หากเราอ้างอิงข้อมูลจากวัฒนธรรมอื่นๆ ที่มีประเพณีคล้ายๆ กัน มันก็เป็นไปได้ว่าการกระทำเหล่านี้จะมาจากความเชื่อว่าการที่ศีรษะยาวเป็นเรื่องสวยงาม หรือไม่ก็เป็นการทำเครื่องหมายว่าคนคนนั้นเป็นคนมีฐานะเฉพาะในสังคม (อ้างอิงจากการที่โครงกระดูกอื่นๆ ไม่ถูกดัดแปลง)
ชนพื้นเมืองอเมริกันโบราณอย่างชาวอินคา และชาวมายา อีกหนึ่งในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมการดัดแปลงกะโหลกศีรษะ
นี่นับว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดหนึ่งใน ของพิธีกรรมในรูปแบบนี้ ที่เหล่านักโบราณคดีเคยพบมาเลยก็ว่าได้ (หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเชื่อกันว่าอยู่ที่อิรักและมีอายุถึง 45,000 ปี อย่างไรก็ตามตัวหลักฐานเองยังมีข้อกังขาอยู่ค่อนข้างมาก)
ดังนั้นเพื่อที่จะเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการดัดแปลงกะโหลกของคนสมัยก่อนให้มากขึ้น ในปัจจุบันทีมนักวิจัยจึงได้ว่าแผนที่จะนำข้อมูลของงานวิจัยในครั้งนี้ ไปเปรียบเทียบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ ในยุคใกล้เคียงกันต่อไป
ที่มา sciencealert, dailymail, sciencenews และ smithsonianmag
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น