สูกชายประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังถูกเพิ่งเล็ง หลังจากที่เขาเดินทางไปที่ที่ราบสูงกลางเอเชียในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมกับพบกับฝูงแกะฝูงหนึ่ง
แกะป่าอาร์กาลีเป็นแกะที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักจากเอกลักษณ์ของเขาที่โค้งงอสวยงาม ซึ่งสามารถยาวได้ถึงหกฟุต ซึ่งถือเป็นสมบัติของชาติมองโกเลีย เพราะใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
การเดินทางครั้งนี้ได้รับความคุ้มครองจากทางสหรัฐฯ และมองโกเลีย ซึ่งการล่าสัตว์นั้นยังเป็นเรื่องเทาๆ แต่ทางรัฐบาลของมองโกเลียก็ได้ให้การสนับสนุนเขาตลอดการเดินทาง
สิทธิ์ในการล่าแกะป่าอาร์กาลีก็ถูกควบคุมโดยระบบซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้บอกว่ามันขึ้นอยู่กับเงิน เส้นสาย และการเมือง
Donald Trump Jr. ได้ฆ่าแกะในตอนกลางคืนโดยใช้ปืนไรเฟิลที่สามารถใช้เลเซอร์ในการเล็งได้
https://www.instagram.com/p/B48mJ4JlpZg/?utm_source=ig_embed
ผู้ล่าห้ามไม่ให้ไกด์แยกชิ้นส่วนสัตว์ในตอนที่ฆ่าได้ แต่ให้ห่ออะลูมีเนียมแทนเพราะแบกกลับไปโดยไม่ให้เขาและขนของมันได้รับความเสียหายมาก และเขาอยากจะเก็บแกะตัวนี้เป็นเหมือน “ถ้วยรางวัล” สำหรับการล่าครั้งนี้
นอกจากนี้เขายังสังหารกวางแดงโดยใช่เหตุผลเดียวกัน ซึ่งข้อมูลจากทาง ProRepublica ได้ให้ข้อมูลว่าได้สัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้อง ได้บอกว่าลูกชายของทรัมป์ได้รับการดูแลอย่างพิเศษระหว่างการเดินทาง
https://www.instagram.com/p/B1mgpDNl05v/?utm_source=ig_embed
อีกทั้งการอนุญาตล่านั้นจะทำขึ้นทีหลังหลังจากที่ Trump Jr. กับ Khaltmaagiin Battulga ประธานาธิบดีของมองโกเลียได้เข้าพบกันด้วย ก่อนที่ลูกชายทรัมป์จะกลับสหรัฐฯ
จากเหตุการณ์นี้ทำให้หลายคนมองว่ามันผิดปกติมากๆ Kathleen Clark ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันบอกว่าสถานะของลูกทรัมป์นั้นอาจเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ เหมือนเป็นการประจบ
แต่ทางโฆษกของ Trump Jr. ก็ออกมาโต้ว่าไม่มีรัฐบาลมายุ่งเกี่ยวกับการออกล่าในครั้งนี้ และใบอนุญาตนั้นก็ได้รับมาอย่างถูกต้องจากบุคคลที่สาม และเขาได้ซื้อทริปนี้ก่อนที่พ่อของเขาจะได้รับตำแหน่งด้วย
https://www.instagram.com/p/B3AlL9mlvYR/?utm_source=ig_embed
แม้ว่าใบอนุญาตล่าสัตว์จะมีไว้เพื่อปกป้องพวกแกะและช่วยเหลือกองทุนอนุรักษ์ แต่จำนวนของแกะป่าอาร์กาลีก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ จากปี 1985 ที่เหลือ 50,000 จนล่าสุดปี 2009 เหลือเพียง 18,000 เท่านั้น แถมแกะพันธุ์นี้ยังมีชื่ออยู่ในสัตว์ที่ถูกคุกคามภายใต้พระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของสหรัฐ
ที่มา unilad
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น