CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

สองหนุ่มเม็กซิโกกับนวัตกรรมทางเลือก ‘ใบกระบองเพชร’ สร้างเครื่องหนังช่วยสิ่งแวดล้อม

ท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีมากมาย ทรัพยากรทางธรรมชาติเริ่มร่อยหรอหดหายไปเรื่อยๆ มนุษย์จึงจำเป็นต้องหาทรัพยากรอื่นๆ มาทดแทนส่วนเดิมที่หายไป เพื่อตอบสนองการบริโภคที่ยังคงมีอยู่

แม้ว่าอาจจะเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ แต่ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางด้านเครื่องหนังทางเลือกที่ทำมาจากพืช จากปกติที่จะต้องใช้หนังจากสัตว์สิ่งมีชีวิตหรือหนังสังเคราะห์

 

 

Adrián López Velarde และ Marte Cázarez สองนักลงทุนผู้พัฒนานวัตกรรมการเปลี่ยนใบกระบองเพชรกลายมาเป็นหนังจากพืชที่มีพื้นผิวและลักษณะคล้ายกับเครื่องหนังแท้

 

 

พวกเขาทำงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นและอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ยานยนต์มาก่อน จนกระทั่งตระหนักได้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเริ่มเป็นปัญหาใหญ่ส่งผลกระทบต่อโลก พวกเขาจึงอยากจะปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อช่วยโลกใบนี้

 

 

ในที่สุดทั้งคู่ก็ลาออกจากงานและทุ่มเทเวลาที่เหลือเพื่อหวังจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมเครื่องหนัง จนกระทั่งเวลา 2 ปีเต็มที่ผ่านมา พวกเขาสามารถสร้างหนังจากกระบองเพชรที่มีคุณภาพส่งสู่ท้องตลาดได้ในเดือนกรกฎาคม 2019

ทำไมถึงเป็นกระบองเพชรล่ะ? นั่นเป็นเพราะว่าเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้น้ำในการเติบโตมากนัก มีความทดทานและแข็งแกร่งต่อสภาพภูมิอากาศ และเป็นพืชท้องถิ่นที่มีอยู่ในประเทศเม็กซิโก

 

.

.

 

หนังจากพืชนี้มีชื่อว่า ‘Desserto’ เป็นหนังจากวัสดุธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากใบกระบองเพชรพันธุ์โนปาล

พื้นผิวของมันมีความทนทางสูงและปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษ นอกจากนั้นแล้วยังมีสีสันที่หลากหลาย ความหนา และพื้นผิวสัมผัสเหมือนหนังสัตว์หรือหนังเทียม

 

 

ทั้งนี้ใบของต้นกระบองเพชรทั้งหมดนั้นมาจากฟาร์มที่ปลูกอยู่ในรัฐซาคาเตคาส เก็บเกี่ยวใบกระบองเพชรมาทำความสะอาด บดให้ละเอียด และนำมาตากแห้งด้วยแสงอาทิตย์ 3 วัน หลังจากนั้นก็จะนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตแปรรูปให้กลายมาเป็นหนังจากวัสดุพืชตามสูตร

 

.

 

หนึ่งในข้อดีของหนังกระบองเพชรนี้คือให้ความรู้สึกคล้ายคลึงหรือเทียบเท่ากับหนังแท้ สามารถปรับให้มีความยืดหยุ่นได้สูง และสามารถนำไปใช้ทดแทนในงานเครื่องหนังแทบจะทุกชนิด

 

 

ที่มา: desserto, architecturaldigest, mymodernmet, livekindly


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น