มันเป็นเรื่องที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกโซเชียลนั้นจัดว่าเป็นสถานที่ที่โหดร้ายสำหรับหลายๆ คน เพราะที่แห่งนี้คือพื้นที่ที่คนมักจะนำมาใช้ระบายความโกรธในจิตใจ และบ่อยครั้งก็สิ่งเหล่านั้นก็ไปทำร้ายจิตใจคนอื่นโดยไม่รู้ตัวด้วย
แต่เชื่อกันหรือไม่ว่าโลกโซเซียลนั้น แท้จริงแล้วอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการทำร้ายร่างกายบนโลกแห่งความจริง มากกว่าที่เราคิดด้วยก็ได้เพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ก็เพิ่งจะค้นพบว่า
เราอาจสามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัวบนโลกจริงได้ โดยอาศัยการวิเคราะห์ปริมาณ ทวีตข้อความเกลียดชังต่อผู้หญิงในพื้นที่ต่างๆ
ความจริงอันน่าจนใจในข้อนี้ถูกค้นพบหลังจากที่คุณ Tom Denson ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ และทีมงานของเขาทำการ รวบรวมทวีต 1.8 พันล้านทวีตตั้งแต่ปี 2013-2014
เพื่อใช้อัลกอริทึมค้นหาคำพูดที่ไม่เหมาะสมทางเพศเช่น “Bitch” และ “Skank” หรือวลีที่มีความหมายเชิงลบเช่น “ผู้หญิงแค่อยู่ในครัวก็พอแล้ว” ก่อนจะนำมันไปเปรียบเทียบกับอัตราการถูกจับกุมตัวด้วยโทษความรุนแรงในครอบครัวในช่วงเวลาใกล้กัน
พวกเขาพบว่าด้วยเหตุผลบางอย่าง พื้นที่ที่มีการโพสต์ข้อความแสดงความเกลียดชังต่อผู้หญิงสูงนั้น ด้วยเหตุผลบางอย่างจะมีอัตราการถูกจับกุมตัวด้วยโทษความรุนแรงในครอบครัวสูงตามไปด้วย
แม้ว่าบ่อยครั้ง ผู้ที่เป็นคนโพสต์ข้อความที่ว่า จะไม่ได้เป็นคนลงมือเองก็ตาม
“การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงข้อควรระวังเกี่ยวกับการโพสต์คำพูดแสดงความเกลียดชังผู้หญิง เพราะแม้ว่าบุคคลที่โพสต์เองจะไม่ได้ใช้ความรุนแรง แต่โพสต์ดังกล่าวดูเหมือนจะสร้างบรรยากาศที่อาจมีความรุนแรงต่อผู้หญิงในสังคมได้”
คุณ Tom Denson ระบุในงานวิจัย
“ที่ผ่านมาเราเคยมีทฤษฎีและงานวิจัยมากมายที่แสดงความเป็นไปได้ว่าทวีตอาจทำให้เกิดความรุนแรง… เมื่อปริมาณทวีตรูปแบบนี้มากถึงขั้นวิกฤต มันก็ราวกับจะสร้างบรรทัดฐานว่าผู้ชายควรปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างไรเลย”
และต่อให้ข้อสันนิษฐานที่ว่านี้อาจจะไม่ถูกต้อง คุณ Tom ก็บอกว่าลำพังแค่การค้นพบความเกี่ยวข้องระหว่างทวีตและความรุนแรงในครอบครัวเช่นนี้มันก็เป็นอะไรที่มีประโยชน์มากพอแล้ว
นั่นเพราะความเกี่ยวข้องนี้สามารถนำไปใช้ในฐานะสัญญาณเตือนล่วงหน้าซึ่งบ่งชี้ว่าความรุนแรงอาจเกิดขึ้นที่ไหนบ้าง และเป็นหลักฐานอย่างดีเลยว่าเราควรให้ความสำคัญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมากกว่านี้นั่นเอง
(งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสาร Psychological Science เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2021)
ที่มา unsw และ iflscience
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น