CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์ประสบความสำเร็จ จำลอง “เสียง” มัมมี่นักบวชขึ้นอีกครั้ง แม้เวลาผ่านไปกว่า 3,000 ปี

สำหรับวงการวิทยาศาสตร์และโบราณคดีแล้ว “มัมมี่” นับว่าเป็นหนึ่งในวัตถุโบราณในอดีต ที่เรามีการตรวจสอบมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะด้วยความสมบูรณ์ที่ค่อนข้างมากของมัมมี่นั้น ทำให้พวกเราสามารถเก็บข้อมูลความเป็นอยู่ของคนในอดีตได้ง่าย แถมยังสามารถจำลองใบหน้าผู้เสียชีวิตขึ้นมาใหม่ได้อย่างไม่ยากเย็นด้วย

แต่ในช่วงเวลาที่เราคิดว่าเราคงจะไม่มีอะไรให้เรียนรู้เพิ่มเต็มเกี่ยวกับมัมมี่แล้วนั่นเอง กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ร่วมของ มหาวิทยาลัยลอนดอน มหาวิทยาลัยยอร์ค และพิพิธภัณฑ์หอศิลป์ลีดส์ ก็ได้ออกมาเปิดเผยการทดลองที่น่าทึ่งเกี่ยวกับมัมมี่แห่งอียิปต์อีกครั้ง

 

 

เพราะในการทดลองครั้งใหม่นี้ พวกเขาได้ประสบความสำเร็จในการจำลอง “เสียง” ที่น่าจะเป็นของมัมมี่นักบวช ที่มีอายุร่วม 3,000 ปี ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีในปัจจุบันนั่นเอง

อ้างอิงจากข้อมูลงานวิจัย มัมมี่ที่ถูกนำมาใช้กันการทดลองครั้งนี้ เป็นมัมมี่ของนักบวชที่มีชื่อว่า “เนสยามุน” ชายผู้เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคของฟาโรห์รามเสส ซึ่งปกครองประเทศในช่วง 1099-1069 ปีก่อนคริสตกาล

โดยในการทดลองครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบร่างของเนสยามุนอย่างละเอียด ด้วยระบบเครื่องซีทีสแกน เพื่อสร้างภาพสามมิติของช่องปากและลำคอของมัมมี่ ก่อนที่จะนำขึ้นมูลที่ได้ไปสร้างเป็นกล่องเสียงจำลองอีกที

 

 

การกระทำเช่นนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถจำลองเสียงของผู้ที่เสียชีวิตไปเมื่อหลายพันปีก่อนได้อีกครั้ง และแม้เสียงที่ออกมาจากการจำลองจะเป็นเพียงเสียง่ายๆ อย่าง “อู” หรือ “แอ” แต่มันก็สร้างความตื่นเต้นให้กับนักวิทยาศาสตร์มาก เพราะเสียงที่ออกมานี้ จะสามารถนำไปพัฒนาเป็นคำพูดได้

 

เสียงของมัมมี่ 3,000 ปี จากช่อง LiveScience

 

และสำหรับตัวเนสยามุนเอง นักวิทยาศาสตร์ก็กล่าวไว้ว่า ไม่แน่เหมือนกันว่าการทดลองในครั้งนี้ อาจจะเปรียบได้กับการทำให้ความฝันหลังความตายของเขาเป็นจริงเลยก็ได้

 

ชื่อของเนสยามุนเมื่อเขียนด้วยอักษรไฮโรกลิฟิก

 

นั่นเพราะเนสยามุนนั้นเคยเป็นนักบวชที่ใช้เสียงในการประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งรวมถึงการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้ามาก่อน และดูเหมือนว่าเขาจะอยากให้น้ำเพียงของตัวเองถูกได้ยินโดยใครบางคนแม้แต่ในโลกหลังความตายเลยด้วย

 

ที่มา foxnews, livescience


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น