ปี 2020 สำหรับองค์การนาซา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble แล้วถือว่าเป็นปีที่มีความสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ครบรอบการทำงาน 30 ปีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสุดขยันชิ้นนี้เลยนั่นเอง
ดังนั้น ราวกับเพื่อเป็นการฉลองการทำงานให้กลับกล้องตัวนี้อีกครั้ง เมื่อล่าสุดนี้เองทางนาซาก็ได้ออกมาทดลอง ทำการเปลี่ยนภาพถ่ายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวนี้ ในเป็นคลื่นเสียงให้เหล่าผู้ที่สนใจได้ทดลองฟังกันดู
อ้างอิงจากทางนาซา พวกเขานั้นสร้างเสียงขึ้นจากภาพของสถานที่ที่ไม่น่าจะมีเสียงได้อย่างในอวกาศ ด้วยกระบวนการที่มีชื่อว่า “Sonification”
โดยในกระบวนการนี้นักวิทยาศาสตร์จะใช้ภาพที่ชื่อ “Galactic treasure chest” (ภาพด้านบน) มาสร้างเป็นเส้นเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันแล้วแต่ลักษณะของแสงและรูปร่างของกาแล็กซีที่ปรากฏในภาพอีกที
รับฟังเสียงของกาแล็กซีได้ที่นี่
“เมื่อเวลาผ่านไปเส้นความถี่จะขยับจากซ้ายไปขวา ในขณะที่ความถี่เปลี่ยนจากล่างขึ้นบนในระยะความถี่คลื่นตั้งแต่ 30-1,000 เฮิรตซ์ โดยวัตถุที่อยู่ด้านล่างของภาพจะสร้างโน้ตที่ต่ำกว่าในขณะที่วัตถุที่อยู่ใกล้ด้านบนจะสร้างโน้ตที่สูงกว่า” นาซาอธิบายในวิดีโอของพวกเขา
“ดาวและกาแล็กซีขนาดกะทัดรัดจะสร้างเสียงที่สั้นและชัดเจน ในขณะที่กาแล็กซีกังหันจะมีโน้ตที่ยาว และระดับเสียงที่เปลี่ยนไป”
แน่นอนว่าด้วยลักษณะของกระบวนการ Sonification เสียงที่ออกมานั้นโดยมากแล้วจะฟังดูแปลกๆ และชวนขนลุกอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม บางส่วนของภาพเองก็ยังคงนำมาซึ่งบทเพลงที่งดงามในความลึกลับเช่นกัน ตัวอย่างเช่นบริเวณตรงกลางของภาพ อันเป็นสถานที่ตั้งของ กระจุกกาแล็กซีชื่อ RXC J0142.9 + 4438 เป็นต้น
ที่มา sciencetimes, sciencealert, express, spacetelescope
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น