ตั้งแต่ในอดีตมา มนุษย์เรานั้นคิดว่าความเจ็บปวดที่มนุษย์รู้สึกนั้นเกิดขึ้นมาจากการทำงานของเซลล์ประสาทที่ส่งข้อมูลไปยังสมอง ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ผิด แต่ในขณะเดียวกันในร่างกายของเราก็อาจจะยังมี “อวัยวะ” อีกอย่างหนึ่งที่ค่อยช่วยให้เรารับรู้ความเจ็บปวดก็เป็นได้
นั่นเพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันคาโรลินสกาในสวีเดน ได้ทำการค้นพบหน้าที่การทำงานใหม่ของเซลล์ชวานน์ (Schwann cell) เซลล์ที่เรารู้จักกันมานานแล้วแต่กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ภาพจำลองของเซลล์ชวานน์ทั่วไป
ในอดีตเราเคยคิดกันว่าเซลล์ชวานน์นั้นเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ปกป้องเซลล์ประสาทอื่นๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามในงานวิจัยในหนูชิ้นล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า เซลล์ชวานน์บริเวณผิวหนังนั้นของหนูนั้น มีการเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทในสภาพคล้ายตาข่าย ซึ่งนับว่าแปลกกว่าเซลล์ชวานน์ในพื้นที่อื่นๆ มาก
และเมื่อทำการศึกษาเซลล์ตัวนี้ต่อไป นักวิจัยก็พบว่าเซลล์ชวานน์นั้น นอกจากจะปกป้องเซลล์ประสาทอื่นๆแล้ว มันยังมีอาจหน้าที่ทำงานในการรับความรู้สึกเจ็บจากผิวหนัง เพื่อส่งข้อมูลความรู้สึกผ่านเซลล์ประสาทได้
ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบว่าเซลล์เหล่านี้มีการทำงานอย่างไรกันแน่ ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการทดลองตัดต่อพันธุกรรมให้หนูมีเซลล์ชวานน์ที่ฝ่าเท้าถูกกระตุ้นได้ด้วยแสง และลองฉายแสงใส่เท้าของพวกมันดู
พวกเขาพบว่าเมื่อหนูเหล่านี้โดนแสงพวกมันจะแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความเจ็บปวดออกมาอย่างเห็นได้ชัด และจะสงบลงหากไม่โดนฉายแสง ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีว่าเซลล์ตัวนี้นั้นรับความรู้สึกได้จริงๆ และทำงานร่วมกับเซลล์ประสาทไม่ต่างจากอวัยวะชิ้นหนึ่งเลยด้วย
เซลล์ชวานน์ในผิวหนังหนู
แน่นอนว่าในปัจจุบันทีมวิจัยเองยังไม่ได้มีการทดลองเกี่ยวกับเซลล์ชวานน์ในมนุษย์โดยตรงแต่อย่างไร ถึงอย่างนั้นก็ตามที่ผ่านๆ มาเราก็มีหลักฐานอย่างดีว่าเซลล์รับความรู้สึกของหนูและมนุษย์นั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ดังนั้นมันจึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่ามนุษย์เองก็อาจจะใช้เซลล์ชวานน์รับความรู้สึกเช่นกัน
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ มันก็อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าเซลล์ตัวนี้ อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่รักษาไม่ได้บางอย่าง และแน่นอนว่าการศึกษาเซลล์ชวานน์เองก็อาจจะนำไปสู่การพัฒนาทางการแพทย์ก้าวใหม่ ที่มีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนก็เป็นได้
ที่มา gizmodo, bbc, the-scientist, sciencealert และ sciencemag
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น