เชื่อว่าด้วยความรุนแรงของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน คงมีหลายคนที่เริ่มหวาดกลัวขึ้นมาบ้างแล้วว่า โรคระบาดครั้งหน้าที่มันจะมีความรุนแรงขนาดไหน
แต่ดูเหมือนว่าสำหรับนักวิชาการที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอย่างคุณ Vivek Wadhwa สิ่งสำคัญเกี่ยวกับโรคระบาดครั้งหน้าอาจจะไม่ใช่ที่ความรุนแรง แต่เป็นวิธีการที่มันเกิดขึ้นต่างหาก
นั่นเพราะจากในบทความชิ้นใหม่ ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อแนะนำนโยบายต่างประเทศของเขา ดูเหมือนว่าคุณ Wadhwa จะเชื่อเป็นอย่างมาก ว่าโรคระบาดครั้งหน้านั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการก่อการร้าย
อ้างอิงจากตัวคุณ Wadhwa เอง ความกลัวของเขา มีเหตุผลหลักๆ มาจาก การพัฒนาทางเทคโนโลยีในด้านพันธุวิศวกรรม โดยเฉพาะเทคโนโลยี “CRISPR” ซึ่งทำให้เราสามารถตัดต่อยีนของสิ่งมีชีวิตได้โดยใช้แค่ปลายนิ้ว
เขาบอกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้แม้จะเป็นเครื่องมือที่ดี แต่ในขณะเดียวกันมันก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่จะตกไปอยู่ในมือกลุ่มคนที่ไม่เหมาะสม
ซึ่งในกรณีนั้น ผู้ไม่ประสงค์ดีอย่างกลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือ “ไบโอแฮ็กเกอร์” บางกลุ่มก็อาจจะสามารถใช้เครื่องมือนี้สร้างเชื้อโรคร้ายแรงที่ยากแก่การรักษาได้ไม่ยาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือตัวเทคโนโลยีนี้มีราคาค่อยๆ ถูกลงแบบในปัจจุบันแล้วด้วย
“ตอนนี้สายเกินไปที่จะหยุดการแพร่กระจายไปทั่วโลกของเทคโนโลยีเหล่านี้ ยักษ์ในวิเศษมันได้ออกจากตะเกียงไปแล้ว” คุณ Wadhwa กล่าว
“เราต้องปฏิบัติต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นการซ้อมใหญ่อย่างเต็มรูปแบบถึงสิ่งที่กำลังจะมา ไม่เพียงแค่ไวรัสจากธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงไวรัสที่ถูกออกแบบโดยมนุษย์อย่างเจตนาด้วย”
นี่นับว่าเป็นข่าวที่ค่อนข้างน่ากลัวเลยทีเดียวเพราะแม้นี่จะเป็นแนวคิดจากคนเพียงคนเดียวแต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จากรายงานของทางองค์การอนามัยโลก (WHO)
โลกเรายังถือว่าไร้การเตรียมตัวอย่างน่ากลัวต่อการแพร่ระบาดใหญ่ในอนาคตอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้นหากไวรัสตัวต่อไปที่จะมาระบาดในโลกเป็นไวรัสที่ถูกแก้พันธุกรรมมาให้รักษาได้ยาก มันก็ไม่แปลกเลยที่โลกทั้งใบอาจจะเผชิญกับวิกฤตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยก็เป็นได้
ที่มา futurism และ foreignpolicy
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น