CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

รู้หรือไม่ ในอดีตการใช้ตัวอักษร Q, W และ X เคยเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศตุรกีด้วย

ย้อนกลับไปในช่วงเวลาก่อนหน้าปี 1928 ประเทศตุรกียังคงมีระบบการเขียนในรูปแบบคล้ายภาษาอาหรับ ซึ่งเรียนรู้ได้ค่อนข้างยาก

ดังนั้นแม้ว่าในตุรกีจะมีชาวต่างชาติจำนวนมากที่พูดภาษาตุรกีได้คล่องก็ตาม พวกเขาก็พบว่าชาวต่างชาติน้อยคนนักที่จะเขียนหนังสือหรืออ่านป้ายจราจรได้ แถมเด็กในประเทศเองก็มักจะมีปัญหาในการเปรียบเทียบภาษาตุรกี กับภาษาอื่นๆ ที่มักใช้ระบบการเขียนแบบละตินด้วย

 

 

ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้การเรียนรู้ภาษาตุรกีทำได้ง่ายขึ้นประธานาธิบดี มุสตาฟา เคมัล อตาเติร์กประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐตุรกีจึงได้ตัดสินใจที่จะละทิ้งอักษรอาหรับเก่าสุดซับซ้อนที่ตุรกีเคยใช้ และเปลี่ยนเป็นอักษรแบบละตินที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรเพียง 29 ตัวได้แก่

A B C Ç D E F G Ğ H I İ J K L M N O Ö P R S Ş T U Ü V Y Z

 

 

นี่เป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่แต่ก็น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรในครั้งนี้ทำให้ภาษาตุรกีมีความใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมากขึ้น ซึ่งทำให้ชาวตะวันตกเรียนรู้ภาษาของประเทศได้ง่ายขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างไรก็ตามอักษรใหม่ของตุรกีนั้นมีบางอย่างที่น่าสนใจอยู่ นั่นคือพวกเขาไม่มีตัวอักษร Q W X

จริงอยู่ว่าในทางภาษาแล้วตัวอักษร Q, W และ X จะสามารถแทนที่ด้วยตัวอักษร K, V และ KS ได้ (เช่น Taxi ก็เขียนว่า Taksi) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ดูเผินๆ จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

 

 

แต่ปัญหาในเวลานั้นคือประธานาธิบดีมุสตาฟา ไม่ได้แค่ละทิ้งตัวอักษร Q, W และ X ไปจากภาษาตุรกีเท่านั้น แต่เจ้าตัว “แบน” ตัวอักษรเหล่านี้ในทางกฎหมายเลยต่างหาก

การตัดสินใจเล็กๆ ในจุดนี้ทำให้การเขียนอักษร Q, W และ X กลายเป็นเรื่องต้องห้ามในที่สาธารณะ และการจะใช้ตัวอักษรเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องเป็นการใช้กับคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศโดยตรงเท่านั้นไป ซึ่งในเวลาต่อมาได้สร้างผลกระทบอย่างไม่น่าเชื่อ

 

 

ทุกครั้งที่คนที่มีชื่อเสียงหรือเจ้าหน้าที่รัฐอย่างนายกเทศมนตรีมีการใช้คำผิด อย่างการเขียนคำว่า “Nowruz” (ชื่อวันปีใหม่เปอร์เซีย) แทนที่จะเป็น “Nevruz” พวกเขาก็จะถูกฟ้องร้องอย่างจริงจังทันที ซึ่งสำหรับคนบางกลุ่มแล้วนี่นับว่าเป็นการกระทำที่ดูจะไม่สมเหตุสมผลไปนิด

โดยกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเวลานั้น ก็คงไม่พ้นชาวเคิร์ดซึ่งมีอยู่ประมาณ 20% ของชาวตุรกีทั้งหมดเป็นแน่ เพราะพวกเขามีการใช้งานตัวอักษรต้องห้ามมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ มาก แถมในยุค 90 ภาษาและอักษรของพวกเขาเองก็ยังถูกแบนอีกด้วย

 

 

นับว่าโชคดีมากที่ปัญหาเรื่องภาษาของทางตุรกีนั้น สุดท้ายแล้วก็จบลงด้วยดี เนื่องจากในปี 2013 รัฐบาลตุรกีได้ทำการยกเลิกการแบนอักษร Q, W และ X ไป ทำให้ในปัจจุบันการใช้ตัวอักษรดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องที่มีความผิดอีกต่อไปแล้วนั่นเอง

 

ที่มา amusingplanet


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น