CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ย้อนรอย “Ritter’s Road Skates” รองเท้าติดล้อแห่งปี 1898 ที่เคยโด่งดังมาก่อนโรลเลอร์เบลด

หากว่าเพื่อนๆ ยังคงจำกันได้ ย้อนกลับไปเมื่อราวๆ สิบกว่าปีก่อน ในบ้านเราได้มีกระแส “โรลเลอร์เบลด” กลายเป็นที่โด่งดังถึงขนาดที่ไม่ว่าเราจะเดินไปไหม มันก็จะต้องมีเก็กหรือวัยรุ่นสักคนที่ใส่โรลเลอร์เบลดติดเท้ามา

ว่าแต่เพื่อๆ รู้หรือไม่ว่าเรื่องราวแปลกๆ ของ อุปกรณ์ที่คล้ายๆ กับโรลเลอร์เบลดนั้น แท้จริงแล้วมีมานานกว่าที่เราคิดไว้มาก อย่างในช่วงปี 1898 เราก็เคยมีอุปกรณ์อย่าง “Road Skates” ซึ่งดูยังไงมันก็เป็นโรลเลอร์เบลดยุคโบราณ ออกวางขายมาแล้วเช่นกัน

 

.

 

เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ เป็นสิ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาด้วยความคิดของคุณ Ritter หัวหน้าคนงานชาวสวิส ของบริษัทมอเตอร์รถยนต์ Napier Works ซึ่งทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า Ritter’s Road Skates โดยเดิมทีแล้วมันถูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนที่ชื่นชอบสเกตน้ำแข็ง สามารถเล่นสเกตได้แม้แต่บนถนนอีกที

Ritter’s Road Skates ถูกออกแบบมาให้มีขนาดต่างๆ กันไปแล้วที่ผู้ใส่ โดยมันมีจุดเด่นสำคัญที่ต่างจากโรลเลอร์เบลดอยู่ที่การมีสายเบรกล้อ และไม้ด้ามยาวที่ยึดช่วงล่างของขาผู้เล่นให้เหยียดตรง และช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่เข่า

 

 

รองเท้าสุดแปลกนี้ ได้รับการวางขายอย่างเป็นทางการโดยบริษัท Road Skate Co และกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปี 1897-1898 ในรูปแบบคล้ายกับโรลเลอร์เบลดในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่ในเวลานั้นมีคนดังหลายคนเลยที่ออกมาตั้งชมรม Road Skates ขึ้น

 

.

 

แต่แม้ว่า Ritter’s Road Skates จะเป็นอุปกรณ์การเล่นสเกตบนถนนที่ดังมากๆ เป็นชิ้นแรกๆ ที่เราเคยมีการบันทึกไว้ก็ตาม อุปกรณ์ชิ้นนี้ ก็ใช่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เล่นสเกตบนถนนชิ้นแรกที่ถูกคิดค้นขึ้นแต่อย่างไร

เพราะในช่วงปี 1760 เองเราก็มีหลักฐานว่าอุปกรณ์เล่นสเกตในรูปแบบคล้ายกันนี้เคยถูกคิดค้นออกมาแล้วโดยนักประดิษฐ์ชาวเบลเยียมอีกที

 

หนึ่งในภาพวาดจากปี 1863 ที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์เล่นสเกตบนถนนเป็นที่นิยมมานานแล้ว

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เราก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยอยู่ดีว่า Ritter’s Road Skates นั้นเป็นอุปกรณ์ที่โด่งดังในช่วงเวลาของมันจริงๆ และดูจากประวัติศาสตร์แล้ว ไม่แน่เหมือนกันว่าในอนาคตอุปกรณ์แบบโรลเลอร์สเกตเองก็อาจจะกลับมาโด่งดังสนั่นเมืองเข้าในสักวันก็เป็นได้

 

ที่มา vintag, antikeychop และ onlinebicyclemuseum


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น