CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักโบราณคดีชี้ โบราณสถานในป่าสกอตแลนด์ อาจเป็นโรงกลั่นวิสกี้เถื่อนจากศตวรรษที่ 18

ลึกเข้าไปในป่า Loch Ard ทางตอนเหนือของเมืองกลาสโกว์ประเทศสกอตแลนด์ราวๆ 30 กิโลเมตร ยังคงมีโบราณสถานสร้างจากหินสองแห่งหลับใหลอยู่

 

 

มันถูกเรียกโดยกลุ่มนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า “Wee Bruach Caoruinn” และ “Big Bruach Caoruinn” อาคารจากศตวรรษที่ 18 ซึ่งถูกสร้างขึ้นกลางป่าห่างกันราวๆ 200 เมตร และในอดีตน่าจะเคยถูกใช้งานเป็นโรงกลั่นวิสกี้ผิดกฎหมายมาก่อน

นักโบราณคดีได้ข้อสรุปที่น่าสนใจนี้มาจาก แหล่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำและชุมชนสำคัญหลายแห่ง บวกกับการเข้าตรวจสอบอาคารทั้งสองด้วยระบบเลเซอร์สแกนจำลองโมเดล 3 มิติในพื้นที่ ซึ่งพบกับร่องรอยของเตาอบแห้งข้าวโพดขนาดใหญ่ ช่วยยืนยันความคิดของพวกเขาอีกชั้น

 

 

อ้างอิงจากคุณ Matt Ritchie นักโบราณคดีผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบอาคารทั้งสอง ย้อนกลับไปในช่วงปี 1788 รัฐบาลของสกอตแลนด์ได้ออกกฎหมาย “Excise Act” ขึ้นมา

เป็นการสั่งห้ามเปิดโรงกลั่นสุราที่มีกำลังการผลิตน้อยว่า 450 ลิตร ส่งผลทำให้ผู้ผลิตรายย่อยส่วนมากต้องถูกสั่งปิดในกรณีที่โรงกลั่นของพวกเขาถูกตรวจพบ

นับว่าเป็นโชคดีของเจ้าของโรงกลั่นแห่งนี้ ที่ดูเหมือนว่ากิจการของเขาจะไม่ถูกทางภาครัฐพบเลยตลอดช่วงศตวรรษที่ 18-19 ยืนยันได้จากหลักฐานเครื่องมือที่ใช้ในกลั่นในโรงงาน (กรณีที่ถูกพบเครื่องมือเหล่านี้จะถูกยึดไป)

 

ภาพจำลองของโรงกลั่นวิสกี้แห่งนี้ ในตอนที่ยังมีการใช้งาน

 

ความสามารถในการหลบเลี่ยงการจับกุมเช่นนี้ มีปัจจัยหลักมาจากการที่โรงกลั่นถูกสร้างขึ้นมาในป่าลึก ซึ่งทำให้พวกเขาถูกพบได้ยาก จนสามารถขายวิสกี้ให้กับเมืองรอบๆ อย่างกลาสโกว์และได้กำไรมากกว่าสุราทั่วไป เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องจ่ายภาษี

ความได้เปรียบในจุดนี้ทำให้ตัวโรงงานมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก่อนที่มันจะถูกทิ้งไปในช่วงปี 1840 ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง และหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันในสภาพของโบราณสถานในที่สุด

 

ที่มา livescience, thesun และ thedrinksbusiness


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น