CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

เคยไหมที่ “ดมกลิ่น” แล้วนึกย้อนถึงความทรงจำวันวาน!? นักวิทย์มีคำตอบ มันเกี่ยวกับสมองเราด้วย

เคยเป็นกันไหม? กับการได้กลิ่นอะไรบางอย่างและนึกถึงวันวานขึ้นมา แล้วเกิดสงสัยขึ้นมาว่าทำไมกัน กลิ่นแบบเฉพาะบางกลิ่น ถึงสามารถทำให้เรานึกถึงความทรงจำเหล่านี้ขึ้นมาได้

 

 

ปริศนาเหล่านี้ไม่แน่เหมือนกันว่าอาจจะถูกไขได้แล้วก็เป็นได้ ภายในงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Learning and Memory โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ซึ่งมีเนื้อหาคร่าวๆ สรุปได้ว่า

การรับกลิ่นของเรานั้น แท้จริงแล้วมีความสำคัญกับระบบความทรงจำของสมองกว่าที่เราคิด เพราะมันสามารถ “เปลี่ยนแปลง” วิธีที่สมองจะประมวลผลความคิดและความจำได้เลย

 

 

อ้างอิงจากสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทราบตั้งแต่ในอดีต สมองของเรานั้นจะใช้งานสมองส่วนที่เรียกว่า “ฮิปโปแคมปัส” (Hippocampus) ในการประมวลผลสิ่งที่เราพบไปอยู่ในฐานะความทรงจำ

โดยข้อมูลจากสมองในจุดนี้โดยมากแล้วจะเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดสูง ก่อนที่เซลล์ที่เก็บความทรงจำไว้จะถูกเปิดใช้งานและจัดระเบียบใหม่เป็นพักๆ ก่อนที่ในที่สุดความทรงจำจะถูกส่งไปอยู่ในการดูแลของเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) สถานที่ซึ่งความทรงจำต่างๆ อาจจะค่อยๆ หายไป

 

 

 

จากข้อมูลในจุดนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้จัดการทดลองในหนูสองกลุ่มขึ้น โดยหนูทดลองทั้งสองจะถูกช็อตด้วยกระแสไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นพักๆ ตลอดระยะเวลา 20 วัน แต่ต่างกันตรงที่หนูกลุ่มหนึ่งจะได้รับกลิ่นของอัลมอนด์ก่อนการปล่อยไฟฟ้า ในขณะที่หนูอีกกลุ่มจะถูกช็อตไปเลย

เมื่อเวลาผ่านไปถึงจุดจุดหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็พบว่าความทรงจำเกี่ยวกับ “ความกลัว” ของหนูกลุ่มที่ถูกไฟฟ้าช็อตไปเลยนั้น จะถูกย้ายไปอยู่ที่เยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าตามปกติ

แต่กลับกันหนูกลุ่มที่ได้รับกลิ่นของอัลมอนด์ก่อนการปล่อยไฟฟ้าจะยังคงประมวลผล ความทรงจำเกี่ยวกับความกลัวดังกล่าวจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสอยู่ แม้จะไม่ถูกไฟช็อตเป็นเลยในระยะเวลาหนึ่งก็ตาม

 

เซลล์ในเยื่อหุ้มสมองของหนู ระหว่างถูกใช้งานในการก่อตัวของหน่วยความจำที่ไม่ต่อเนื่อง

 

ในเบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่าที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่นั้นจะอาศัยสมองส่วนฮิปโปแคมปัสไม่เพียงแต่ในการเก็บความรู้แต่ยังใช้ในการรับกลิ่นด้วย ดังนั้นการได้กลิ่นอะไรบางอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับความทรงจำใดๆ โดยเฉพาะ จึงสามารถรื้อฟื้นข้อมูลในอดีตได้ดีกว่าการเรียกความทรงจำตามปกติ

นี่นับว่าเป็นอีกข้อมูลความเป็นไปได้ในการทำงานของสมองที่อาจจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากหากเรามีการต่อยอดใช้งานมันอย่างถูกต้อง เพราะอ้างอิงจากคุณ Steve Ramirez ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์สมอง ผู้เขียนอาวุโสของการศึกษาชิ้นนี้..

“กลิ่นสามารถทำหน้าที่เป็นตัวชี้นำในการรักษาหรือเติมหน่วยความจำที่เคยอ่อนแอให้กลับมามีรายละเอียดอีกครั้งได้ไม่ยาก”

 

 

และแน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ก็อาจจะถูกนำไปใช้งานได้ในทั้งด้านการเพิ่มตัวช่วยจำ หรือการรักษาอาการทางความทรงจำบางอย่างต่อไปได้เลย

 

ที่มา foxnews และ Learning and Memory


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น