“ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019” หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยกันในชื่อ “ไวรัสอู่ฮั่น” ในปัจจุบันนับว่ากำลังเป็นโรคลึกลับที่ได้รับการจับตามองเป็นอย่างมากจะทั่วโลกเลยก็คงไม่ผิดนัก
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เรากลับไม่สามารถทราบได้เลยว่าเจ้าไวรัสที่แสนน่ากลัวตัวนี้ แท้จริงแล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรืออะไรกันที่นำเอาไวรัสตัวนี้มาติดมนุษย์ได้
ที่ผ่านมา เราพอจะทราบมากันมาบ้างว่าไวรัสอู่ฮั่นนั้น น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่นเอง และตลาดดังกล่าวนี้ก็มีการขายสัตว์ป่าแปลกๆ หลายชนิดเสียด้วย
และก็เป็นเมื่อล่าสุดนี้เอง ซึ่งนักวิจัยได้ออกมาเปิดเผยความเป็นไปได้ชิ้นแรกๆ ของสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดสู่คนของไวรัสตัวนี้ โดยพวกเขานั้นได้ออกมาบอกว่า
มันมีความเป็นไปได้สูงที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 จะติดเข้ามาสู่คน ผ่านสัตว์อย่าง “งู”
โดยในงานวิจัยชิ้นนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบลำดับทางพันธุกรรมของไวรัส 2019-nCoV ก่อนที่จะนำมันไปเปรียบเทียบกับลำดับทางพันธุกรรมของ ไวรัสโคโรนาอยู่ๆ กว่า 200 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งมีประวัติการติดเชื้อในสัตว์
พวกเขาได้ทำการค้นพบว่าไวรัส 2019-nCoV นั้น ดูเหมือนจะเป็นไวรัสที่เกิดขึ้นจากการผสมกันของไวรัสโคโรนาสองชิ้นหลักๆ ได้แก่ไวรัสที่มักพบในค้างคาว และไวรัสโคโรนาไม่ทราบที่มาอีกหนึ่งตัว
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการตรวจสอบลำดับทางพันธุกรรมของไวรัส 2019-nCoV อย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อหารหัสพันธุกรรมของอดีตสัตว์ที่ไวรัสเคยติด ซึ่งในคราวนี้พวกเขาพบว่าสัตว์ดังกล่าวน่าจะเป็นงู
ดังนั้น พวกเขาจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าในอดีต งูที่วางขายอยู่ในตลาดเมืองอู่ฮั่น อาจจะติดไวรัสโคโรนามาจากค้างคาวด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งทำให้ไวรัสดังกล่าวกลายพันธุ์ (อาจเพราะรวมกับไวรัสโคโรนาของงู) จนทำให้มันได้รับความสามารถในการกระโดดข้ามสายพันธุ์มาสู่มนุษย์ก็เป็นได้
ซึ่งในกรณีที่เห็นเช่นนั้นจริง ปริศนาหลายๆ อย่างของไวรัสตัวใหม่นี้ก็จะถูกไขออกมาได้อย่างลงตัวแบบไม่น่าเชื่อ เพราะในบรรดาสัตว์แปลกๆ ที่มีการขายในตลาดอู่ฮั่น ก็บังเอิญว่ามีงู Bungarus multicinctus และ Naja atra อยู่พอดีเสียด้วย
อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อมูลที่ออกมานี้จะสอดคล้องต่อสิ่งที่เราเคยพบมา ทางทีมนักวิจัยก็ยังคงออกมากล่าวไว้อยู่ดีว่า พวกเขายังจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยสัตว์อื่นๆ ต่อไปอีก ก่อนที่จะสามารถยืนยันการค้นพบในครั้งนี้ได้ แบบเต็มภาคภูมิ
ที่มา onlinelibrary, livescience และ cnn
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น