CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

เปิดชิ้นส่วนบทกวีโบราณ เนื้อหาของ “สาวพรหมจรรย์” ผู้ถกเถียงกับ “โยนี” ของตัวเอง

ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ภายในอารามเมลค์ (Melk Abbey) ประเทศออสเตรีย ทีมนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยุคกลาง ได้ค้นพบชิ้นส่วนของบทกลอนโบราณซึ่งมาจากช่วงปี 1300

เจ้าบทกลอนที่ถูกพบในครั้งนี้ มีสภาพเป็นแผ่นกระดาษยาวๆ ที่มีตัวหนังสือเขียนไว้ไม่กี่ตัวต่อบรรทัด ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากการถูกตัดเพื่อนำไปใช้เป็นกระดาษผูกหนังสือเทววิทยาละตินอีกที

 

 

โดยกระดาษแผ่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทกลอนยาวที่ชื่อว่า “The Rose Thorn” (Der Rosendorn) หรือ “กุหลาบหนาม”

ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวพรหมจรรย์คนหนึ่งที่ถกเถียงกับโยนีของตัวเองว่า ระหว่างเธอกับโยนีใครกันที่ทำให้ผู้ชายหลงใหลมากกว่ากัน

 

 

เพราะแม้ว่าหญิงสาวพรหมจรรย์จะเถียงกับโยนีรุนแรงถึงขั้นต้องแยกจากกัน แต่แล้วทั้งสองก็ตัดสินใจได้ว่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าหากอยู่ด้วยกัน ซึ่งสะท้อนความจริงที่ว่าคนเรานั้น ไม่สามารถแยกหนีจากเพศของตัวเองได้ง่ายๆ นั่นเอง

บทกลอน The Rose Thorn นั้น ในอดีตเคยมีการถูกค้นพบมาอย่างน้อยๆ 2 ครั้งที่ เมืองเดรสเดิน และเมืองคาลส์รูเออ ประเทศเยอรมนี

 

 

อย่างไรก็ตามบทกลอนทั้งสองชิ้นนั้นล้วนแต่มาจากช่วงปี 1500 ซึ่งทำให้การค้นพบในครั้งนี้กลายเป็นหลักฐานอย่างดีว่า บทกลอนชิ้นนี้แท้จริงแล้วเก่าแก่กว่าที่เราเคยคิดไว้ถึง 200 ปี

และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่บทกลอนนี้จะเป็นบทกลอนเวอร์ชั่นแรกๆ ของ “Vagina Monologues” บทกวีชื่อดังอีกชิ้นในยุคกลางด้วย

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากที่แม้ว่าเราจะพบบทกลอนชิ้นนี้มาหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่สุดท้ายเราก็ยังไม่สามารถทราบได้เลยว่าใครกันที่เป็นคนแต่งบทกลอนนี้ขึ้นมาหรือเรื่องที่ว่าผู้แต่งกลอนบทนี้เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายกันแน่

 

อารามเมลค์ สถานที่ที่บทกลอนชิ้นนี้ถูกพบ

 

สิ่งเดียวที่พวกเขาพอจะทราบคือแม้ว่าเนื้อเรื่องของบทกลอนจะออกมาแปลกๆ อยู่บ้าง แต่สุดท้ายแล้วมันก็เป็นบทกลอนที่สอนเรื่องสำคัญให้ผู้อ่านหลายเรื่องจริงๆ

 

ที่มา theguardian, oeaw, smithsonianmag, allthatsinteresting


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น