CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ดราม่ารายการทีวีญี่ปุ่น กับทฤษฎี ‘ภาษาต่างชาติ’ ทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายกว่า

ทุกคนต่างทราบกันดีแล้วว่าการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ณ ขณะนี้ จะสามารถแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกายผู้ป่วย ทั้งน้ำมูกและละอองจากการไอจามต่างๆ รวมไปถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำอย่างการพูดคุยด้วยการเปล่งเสียงจนน้ำลายกระเด็นก็มี

 

 

และประเด็นดราม่าเรื่องการใช้ภาษาในการพูดระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาญี่ปุ่นนี้ เริ่มมาจาก Kurumi Mori ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นจากช่อง Bloomberg

ทำการโพสต์คลิปรายการของสถานีโทรทัศน์ TBS ที่กำลังพยายามนำเสนอทฤษฎีที่ว่าญี่ปุ่นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้ เป็นเพราะการเปล่งเสียงของภาษาญี่ปุ่น

 

 

จากคลิปข้างต้นนั้นทำการเปรียบเทียบการออกเสียงระหว่างภาษาญี่ปุ่น (これはペンです) กับภาษาอังกฤษ (this is a pen) ด้วยการพูดประโยค “นี่คือปากกา”

เมื่อพูดภาษาญี่ปุ่นคำว่าปากกาทับศัพท์เป็น pen พร้อมกับกระดาษทิชชู่ที่กั้นตรงหน้าปลิวเล็กน้อย แต่พอพูดประโยคเป็นภาษาอังกฤษ กระดาษทิชชู่ด้านหน้าแทบพุ่งหลุดออกจากราวจับเมื่อเปล่งเสียงคำว่า pen ออกมา

 

 

ตัดภาพมาในสตูดิโอพร้อมกับคำว่าสุโก้ยในห้องส่ง ตั้งข้อสังเกตกันว่าแม้จะใช้คำว่า pen เหมือนกันแต่มีความแตกต่างในเรื่องของการเปล่งเสียงระหว่างภาษาญี่ปุ่นกับอังกฤษ

พร้อมกับการขึ้นข้อความด้านล่างจอระบุว่า “เหตุผลที่การแพร่ระบาดเกิดขึ้นช้าในญี่ปุ่น: เป็นเพราะความแตกต่างในการออกเสียงของภาษาที่ใช้รึเปล่า?”

 

 

เมื่อเกิดเป็นการตั้งทฤษฎีเช่นนี้ ชาวเน็ตที่เห็นก็พยายามพิสูจน์ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือไม่ โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ใช้หลักการเดียวกันกับในรายการ ซึ่งในชีวิตจริงแล้วแทบจะไม่มีใครเปล่งเสียงเหมือนกับผู้หญิงในรายการนั้นเลย

 

 

อีกทั้งหากพยายามพูดเปล่งเสียงไม่ให้เป็นไปตามธรรมชาติของการออกเสียง เน้นไปที่คำว่า pen แบบในรายการดังกล่าวด้วยภาษาญี่ปุ่น ก็สามารถทำให้กระดาษทิชชู่ปลิวได้เหมือนกัน

 

.

https://twitter.com/koganakamura/status/1263367688690098176

 

ทั้งนี้ชาวเน็ตต่างก็ถกเถียงกันในการยกทฤษฎีดังกล่าวมาเปรียบเทียบ โดยมองว่าเป็นการเหมารวมและจงใจทำให้ภาษาอื่นกลายเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาด

คล้ายๆ กับการที่คนนอกมองคนญี่ปุ่นชอบกินเนื้อเทอริยากิทุกวัน แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ถึงกับขนาดที่กินทุกวัน เป็นเพียงภาพลักษณ์ที่ชาวตะวันตกเห็นว่าเป็นเมนูยอดนิยมในร้านอาหารญี่ปุ่นที่อยู่นอกญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดีชาวเน็ตทั้งคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลักกับคนที่พูดภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก ก็ยังคงถกเถียงในเรื่องทฤษฎีข้างต้นกันอยู่ รวมทั้งการทำคลิปต่างๆ นานาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ไม่รู้จบ

 

 

เรียบเรียงโดย #เหมียวเลเซอร์

ที่มา @rumireports, @montagekijyo


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น