CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา “ที่มาของดีบุก” ในยุคสัมฤทธิ์ แท้จริงแล้วมันมาจากยุโรป

หากเราไปถึงปริศนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสัมฤทธิ์ เชื่อว่าคงมีนักโบราณคดีหลายคนไม่น้อยที่จะกล่าวถึงเรื่องราวที่มาของดีบุก หนึ่งในองค์ประกอบของสัมฤทธิ์ ซึ่งคนในอิสราเอลนำเข้ามาจากที่ไหนสักแห่ง และที่ผ่านๆ มาเรายังไม่มีหลักฐานใดสามารถยืนยันที่มาของดีบุกเหล่านี้ได้เลย

 

 

และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ร่วมกับศูนย์โบราณคดี Curt Engelhorn Centre จากเมืองมันไฮม์ประเทศเยอรมนี ก็สามารถไขปริศนาอันยาวนานนี้จนได้

โดยในขั้นตอนการไขปริศนาของดีบุก ทีมนักวิจัยได้เข้าทำการตรวจสอบดีบุกที่ถูกพบในแหล่งโบราณคดีที่มีอายุมากกว่า 3,300 ปี ในอิสราเอล ตุรกี และกรีซ

ก่อนที่จะอาศัยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์อย่างการวิเคราะห์ตะกั่วและองค์ประกอบขนาดเล็ก ในการเปรียบเทียบดีบุกเพื่อหาแหล่งที่มาของมัน

พวกเขาพบว่าดีบุกที่พบในพื้นที่นั้น แทนที่จะมีลักษณะคล้ายดีบุกที่พบในเอเชียกลางอย่างที่นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเคยตั้งข้อสันนิษฐานไว้

มันกลับมีลักษณะเหมือนกับดีบุกในเหมืองแถบตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน อย่างเหมืองที่เดวอนและคอร์นวอลล์มากกว่า

 

 

การค้นพบในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยทราบว่า ดีบุกที่ใช้ในสมัยยุคสัมฤทธิ์มาจากทางยุโรปไม่ใช่เอเชียอย่างที่คิด ด้วยเหตุของภูมิประเทศระหว่างอิสราเอลกับยุโรปเป็นทะเล มันก็ชี้ใช้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ว่าการค้าขายโดยเฉพาะทางทะเลในสมัยนั้น อาจจะมีความรุ่งเรืองและก้าวหน้ากว่าที่เราเคยคิดไว้มาก

“สัมฤทธิ์ถูกนำมาใช้ทำอาวุธ เครื่องเพชรพลอย และวัตถุทุกชนิดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สมกับที่ชื่อของมันถูกนำไปใช้เป็นชื่อยุค” คุณ Ernst Pernicka ศาสตราจารย์ผู้เกษียณแล้วจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กกล่าว

 

 

ดังนั้นในอดีตวัตถุดิบที่ใช้ในการทำสัมฤทธิ์เช่นดีบุก จะกลายเป็นที่นิยมอย่างมาก จนพวกมันจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศยุคแรกๆ ไป

และเช่นเดียวกับที่ดีบุกกลายเป็นแร่มีค่าจากการนำไปทำสัมฤทธิ์ งานวิจัยที่ตอบคำถามที่ไม่เคยมีใครตอบได้ในอดีตชิ้นนี้เองก็จะกลายเป็นงานวิจัยมีค่า ที่จะถูกนำไปต่อยอดเป็นการศึกษาใหม่ๆ เพื่อตอบคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับโลกในอดีตเช่นกัน

 

ที่มา dailymail, ancient-origins และ phys


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น