CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักโบราณคดีค้นพบ 2 มัมมี่พร้อม “เขตอุตสาหกรรม” ภายในหุบเขาแห่งฟาโรห์อียิปต์

ลึกเข้าไปในพื้นที่เมืองลักซอร์ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ ในพื้นที่ใกล้ๆ แหล่งโบราณคดีหุบเขาแห่งฟาโรห์ สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมนและราชวงศ์อียิปต์อื่นๆ

ทีมนักโบราณคดี ได้ทำการค้นพบสำคัญ 2 อย่างในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก่อนที่จะมีการประกาศการค้นพบดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา

การค้นพบชิ้นที่หนึ่งอยู่บริเวณทางตะวันตกของหุบเขา ในพื้นที่ซึ่งถูกเรียกว่าหุบเขาลิง ในขณะที่การค้นพบชิ้นที่สองถูกค้นพบในทางตะวันออกของหุบเขา สถานที่ซึ่งมีสุสานฟาโรห์สำคัญๆ ตั้งอยู่

 

 

อ้างอิงจาก Zahi Hawass นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญในวิชาโบราณวัตถุของอียิปต์ มีจุดประสงค์ในการขุดค้นเพื่อค้นหาสุสานโบราณของบุตรสาวและอดีตภรรยาของฟาโรห์ตุตันคาเมน

โดยในทางทางตะวันออกของหุบ ทีมนักโบราณคดีพบมัมมี่ของผู้หญิงจำนวน 2 ร่าง พร้อมกับรูปแกะสลักหุ่นรับใช้ที่รู้จักกันในชื่อ “ชับติ” (Shabti) จำนวนมาก ภายในพื้นที่ใกล้ๆ สุสานแฮตเชปซุต (Hatshepsut) สุสานฟาโรห์หญิงผู้มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์ แต่ยังไม่มีการยืนยันว่ามัมมี่ทั้งสองเป็นของใครกันแน่

 

 

ส่วนการค้นพบที่หุบเขาลิงนั้นเป็นการค้นพบ “เขตอุตสาหกรรม” แห่งแรกในพื้นที่หุบเขาฟาโรห์ โดยมันเป็นโรงงานโบราณขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์โบราณอย่างเตาอบดินเหนียวหรือถังเก็บน้ำ

พร้อมกับหลักฐานจารึกการทำงานเก็บเอาไว้จำนวนมาก ซึ่งในเบื้องต้นนักโบราณคดีคาดว่าที่แห่งนี้น่าจะเคยถูกใช้งานในการสร้างสิ่งของที่ใช้ในสุสานราชวงศ์

“โรงงานแต่ละแห่งถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน บางส่วนถูกใช้เพื่อทำเครื่องปั้นดินเผา ในขณะที่อีกบางส่วนถูกใช้ผลิตสิ่งประดิษฐ์ทองคำ และอีกหลายส่วนถูกใช้งานในการผลิตเฟอร์นิเจอร์”

 

 

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่าในเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวมีโรงงานถูกค้นพบมากกว่า 30 แห่ง โดยส่วนมากเก็บเอาหลักฐานงานเครื่องปั้นดินเผาจากสมัยราชวงศ์ที่ 18 เอาไว้ (ราวๆ 1549-1292 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงที่อียิปต์เริ่มกลายเป็นแหล่งผลิตสำคัญๆ ของโลกพอดี

และการค้นพบที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นหลักฐานชี้ชัดได้ว่า วัฒนธรรมอียิปต์นั้นเคยส่งผลกระทบกับโลกมากมายขนาดไหน

 

 

ที่มา gizmodo, livescience และ ahram


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น