เชื่อกันว่าในจักรวาลวันกว้างใหญ่นี้ มีกาแล็กซีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ที่ในอาณาเขตอันไกลโพ้นจากทางเผือก เราจะสามารถพบกับกาแล็กซีแปลกๆ อยู่เต็มไปหมด ทั้งที่มีรูปร่างเหมือนแมงกะพรุน หรือแม้แต่กาแล็กซีที่ไล่กินกาแล็กซีอื่นๆ
ดังนั้น ในวันนี้เอง #เหมียวศรัทธา จึงจะพาเพื่อนๆ ไปชมเรื่องราวของกาแล็กซีสุดแปลกเหล่านี้ไปด้วยกัน ว่าแต่จะมีกาแล็กซีอะไรบ้าง และแต่ละอันแปลกขนาดไหน เราไม่ชมกันเลยดีกว่า
1. กาแล็กซีรูปแมงกะพรุน
เรามาเริ่มกันจากกาแล็กซีที่มีความแปลกในเรื่องของรูปร่างกันก่อน กับกาแล็กซี ESO 137-001 โดยนี่เป็นกาแล็กซีที่ถูกระบุว่าเป็นกาแล็กซีทรงกังหัน แต่มันกลับมีริ้วของดวงดาว แผ่นออกมาจากด้านหนึ่งของกาแล็กซี ซึ่งทำให้กาแล็กซีทรงกังหันอันนี้ มีสภาพเหมือนแมงกะพรุนไปแทนนั่นเอง
2. กาแล็กซีซอมบี้
นี่คือเรื่องราวของกาแล็กซีที่ชื่อว่า MACS 2129-1 กาแล็กซีรูปจานที่หมุนเร็วกว่าทางช้างเผือกถึงสองเท่า แต่กลับไม่มีการสร้างดวงดาวเลยมากว่า 10,000 ล้านปีแล้ว และในกาแล็กซีเองก็แทบจะไม่เหลือดวงดาวแล้วด้วย
ลักษณะราวกับกาแล็กซีที่ “ตายไปแล้ว” แต่ยังมีชีวิตและสีที่ออกหม่นๆ ของมันนี้เอง ที่ทำให้ MACS 2129-1 ได้รับชื่อเล่นว่ากาแล็กซีซอมบี้ไป
3. กาแล็กซีกินกาแล็กซี
นี่คือเรื่องราวของกาแล็กซีแอนโดรเมดา อันเป็นกาแล็กซีเพื่อนบ้านของเรา โดยมันถูกเรียกด้วยชื่อเล่นว่ากาแล็กซีกินกาแล็กซีเนื่องจาก ตลอด 10,000 ล้านปี ที่ผ่านมา กาแล็กซีอันนี้ได้ไล่เขมือบกาแล็กซีเล็กๆ มาเป็นเวลายาวนาน
แถมในอีก 4,500 ล้านปีข้างหน้า กาแล็กซีอันนี้ก็ถูกคำนวณไว้ว่าจะชนเข้ากับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราอีกด้วย แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบว่าท้ายที่สุดแล้ว ใครจะกินใครก็ตาม
4. กาแล็กซีโจรผู้สว่างจ้า
มันเป็นเรื่องธรรมดาของกาแล็กซี ที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกันเอง และกินหรือขโมยดวงดาว จากกาแล็กซีอื่นๆ อย่างไรก็ตามในบรรดากาแล็กซีที่มนุษย์รู้จัก คงไม่มีกาแล็กซีไหนอีกแล้ว ที่ขึ้นชื่อเรื่องการขโมยดาวเท่ากับ กาแล็กซี W2246-0526 เจ้าของตำแหน่งกาแล็กซีที่สว่างที่สุดที่เราเคยพบ
นั่นเพราะกาแล็กซีนี้ ในปัจจุบันเราจะสามารถเห็นมันกำลังดูดกาแล็กซีอื่นๆ พร้อมๆ กันถึง 3 แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 12,000 ล้านปีก่อน และสิ่งที่เราเห็นก็เป็นเพียงแสงที่เพิ่งเดินทางมาถึงโลกก็ตาม
5. กาแล็กซีในกาแล็กซี
นี่คือกาแล็กซีรูปวงแหวนที่เรารู้จักกันในนาม “วัตถุของโฮแอก” โดยมันเป็นกาแล็กซี ที่เต็มไปด้วยปริศนาในกลุ่มดาวงู ซึ่งมีลักษณะเด่นเป็นวงแหวนสีน้ำเงินที่ดูเหมือนจะซ้อนกันอยู่
การกำเนิดของวัตถุของโฮแอกถือว่าเป็นหนึ่งในปริศนาของจักรวาล ที่นักดาราศาสตร์ยังไม่อาจไขได้ อย่างไรก็ตาม พวกเขาสันนิษฐานกันว่ามันอาจจะเกิดจากการที่มีดาราจักรขนาดเล็กซ้อนอยู่ในดาราจักรขนาดใหญ่กว่าก็เป็นได้
6. กาแล็กซีที่มีหัวใจสองดวง
ตามปกติกาแล็กซีในจักรวาล จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีหลุมดำมวลยิ่งยวดเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามสำหรับหลุมดำบางส่วน อย่าง NGC 7674 หัวใจของมัน จะไม่ได้มีเพียงดวงเดียว แต่เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดถึงสองหลุมแทน
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า NGC 7674 ได้หัวใจดวงที่สองของมันมาจากการที่มันไฟชนและรวมตัวกับกาแล็กซีอีกแห่งในอดีต อย่างไรก็ตามนี่น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อนานมากแล้ว ดังนั้น หลักฐานที่จะใช้ยืนยันแนวคิดนี้จึงมีอยู่ไม่มากเท่าไหร่นัก
7. กาแล็กซี “ดวงตา”
นี่คือกาแล็กซีสองแห่ง ที่วางตัวกันอยู่ในตำแหน่งที่คล้ายดวงตาขนาดยักษ์ในอวกาศอย่างไม่น่าเชื่อ โดยมันประกอบไปด้วย กาแล็กซี IC 2163 (ขวา) และกาแล็กซี NGC 2207 (ซ้าย) และเชื่อกันว่าจะอยู่ในรูปร่างแบบนี้ไปอีกราวๆ 10 ล้านปีเท่านั้น (น้อยมากสำหรับเวลาของกาแล็กซี)
นั่นเพราะในความเป็นจริงแล้ว กาแล็กซีทั้งสองที่เราเห็นกำลังอยู่ในสภาพที่กำลังปะทะกันเองอยู่ และในอนาคตอันใกล้ (สำหรับกาแล็กซีนี้เอง) จะต้องมีกาแล็กซีอันใดอันหนึ่งถูกดูดกลืนเข้าไปเป็นแน่
ที่มา livescience
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น