CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

ทำไมเวลา ‘กินสับปะรด’ แล้วถึงรู้สึกสากลิ้น? เอนไซม์ในผลไม้คือคำตอบช่วยให้กระจ่าง!!

เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยมีคำถามที่สงสัย และก็ยังไม่รู้คำตอบซักที จนบางครั้งถึงกับลืมไปเลยว่าเราสงสัยเรื่องอะไร

และหนึ่งในคำถามเหล่านั้นเรื่องของ ‘การกินสับปะรดแล้วรู้สึกชาลิ้น’ ก็คงเป็นประเด็นแรกๆ ที่หลายคนอยากจะรู้!!

ในวันนี้ #เหมียวหง่าว ก็จะพาเพื่อนๆ ไปเฉลยพร้อมๆ กันว่าทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น ถ้าพร้อมแล้วก็เลื่อนลงไปอ่านพร้อมๆ กันได้เลยจ้า…

 

 

ปรากฏการณ์ที่ว่านี้มันเกิดมาจาก ‘เอนไซม์’ ที่อยู่ในผลไม้ที่ชื่อว่า Bromelain เป็นเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ในการทำลาย ‘โปรตีน’

นั่นหมายความว่า สับปะรดที่เรากินเข้าไปนั้น มันเข้าไปกัดอวัยวะภายในปากของเรานั่นเอง!!

 

 

และเมื่อคุณเคี้ยว หรือกลืนสับปะรดเข้าไป น้ำลายหรือกรดในกระเพาะอาหารของคุณก็จะไปดักจับมัน แม้ว่าจะถูกทำลายแต่ลิ้นของคุณก็จะสามารถสร้างมันขึ้นมาใหม่ได้เหมือนกับเป็นของใหม่

ซึ่งโดยปกติแล้ว เราจะใช้ประโยชน์จากเจ้าเอนไซม์ตัวนี้ในการทำให้ ‘เนื้อ’ มีความนุ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

มาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะคิดว่าเอ๊ะ ข้อมูลนี้มันมั่วรึเปล่า? แล้วทำไมเวลาเรากินสับปะรดที่อยู่บนหน้าพิซซ่าฮาวายเอี้ยน ถึงไม่เห็นเป็นอะไรเลยล่ะ?

 

 

จริงๆ แล้วมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นแหละครับ เพราะโดยปกติแล้วเจ้าเอนไซม์ Bromelain นี้ จะถูกทำลายหายไปที่อุณหภูมิสูงกว่า 48 องศาเซลเซียส

ฉะนั้นหากคุณอยากกินสับปะรด แต่ไม่อยากเจอกับความรู้สึกที่แบบว่าชาลิ้นแล้วล่ะก็ แนะนำให้เอาไปทำให้มันสุกด้วยความร้อนก่อนนั่นเอง

แต่ถ้ายังอยากกินแบบสดๆ แล้วก็ไม่อยากชาลิ้นแล้วล่ะก็….มันมีวิธีอยู่ครับ

นั่นก็คือ คุณจะต้องกินเนื้อส่วนที่อยู่ห่างจาก ‘แกนสับปะรด’ ให้มากที่สุด เพราะส่วนแกนของสับปะรดนั้นจะมีเอนไซม์ Bromelain อยู่มากที่สุดนั่นเอง

 

 

และถ้าหากว่าคุณมีอาการชาลิ้นจากการกินสับปะรด แล้วอยากหายจากอาการนั้นเร็วๆ มันก็มีวิธีแก้อยู่เช่นกัน

นั่นก็คือให้คุณกินโยเกิร์ตเข้าไป เพราะเจ้าเอนไซม์ Bromelain จะเปลี่ยนเป้าหมายเข้าไปทำลายโปรตีนจากโยเกิร์ตแทนที่จะเป็นลิ้นหรือในปากของคุณนั่นเอง

 

หวังว่าทุคนจะมีความสุขกับการกินสับปะรดมากยิ่งขึ้นนะครับ

 

ที่มา : spoonuniversity, delish


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น