CatDumb – แคทดั๊มบ์ | เล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา…

นักวิทย์เตือน การทำฟาร์ม “หมึกยักษ์” เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แม้มีความต้องการสูง

หมึกสายหรือ “หมึกยักษ์” (Octopus) ในปัจจุบันนับว่าเป็นอาหารจานโปรดสำหรับใครหลายๆ คนเลยก็คงไม่ผิดนัก ด้วยรสสัมผัสอันเป็นเอกลักษณ์ของมัน บวกกับความนิยมของอาหารญี่ปุ่น ในปัจจุบันหมึกสายพันธุ์นี้ จึงเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดขึ้นทุกวัน

 

 

ความต้องการที่มากมายขึ้นของตลาดนี้ ทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในปัจจุบันจะมีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่พยายามทดลองเลี้ยงหมึกยักษ์ในรูปแบบฟาร์ม อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าความคิดการเรื่องหมึกยักษ์เป็นปศุสัตว์นั้น จะไม่ใช่เรื่องที่นักวิทยาศาสตร์เห็นด้วยกันสักเท่าไหร่

นั่นเพราะจากบทความซึ่งได้รับการตีพิมพ์ไปเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว “การทำฟาร์มหมึกยักษ์” จะทั้งผิดจรรยาบรรณ และสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงเลย

 

 

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้การเพาะเลี้ยง หมึกยักษ์ในฟาร์มเป็นเรื่องผิดจรรยาบรรณนั้น มาจากการที่หมึกยักษ์เป็นสัตว์ที่ค่อนข้างฉลาดมากเมื่อเทียบกับสัตว์ทั่วๆ ไป

โดยในอดีตมาเรามีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นว่าพวกมันสามารถใช้ความคิดอย่างซับซ้อนในการแก้ปัญหาได้ และอาจถึงกับหนีออกจากที่สถานที่เลี้ยงได้ในกรณีที่สิงแวดล้อมไม่เป็นใจ ซึ่งทำให้การเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องที่โหดร้ายกว่าปกติ

 

 

อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญที่ทำให้การเพาะเลี้ยงหมึกยักษ์เป็นเรื่องที่ไม่ดี นั้นไม่ได้มาจากเรื่องจรรยาบรรณแต่เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างหาก

นั่นเพราะอ้างอิงจากนักวิทยาศาสตร์ดูเหมือนว่า การเลี้ยงหมึกยักษ์ในฟาร์มซึ่งมีพื้นที่จำกัดนั้น จะทำให้หมึกมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อและมีความก้าวร้าวมากขึ้น ทำให้พวกมันมีอัตราการตายสูง

 

หมึกยักษ์ระหว่างการตากแห้ง

 

เรื่องราวข้างต้นนี้ บวกกับการที่การเลี้ยงสัตว์แบบฟาร์มจะเป็นการฝืนธรรมชาติของหมึกยักษ์ซึ่งตามปกติจะกระตือรือร้น และมีความอยากรู้อยากเห็นสูง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่หมึกจะหนีออกจากที่เลี้ยง นำเอาโรคภัยที่มีไปแพร่กระจายให้กับสัตว์อื่นๆ อีกด้วย

เท่านั้นยังไม่พอ หมึกยักษ์ที่เป็นสัตว์กินเนื้อ ยังต้องการอาหารในปริมาณมากกว่าน้ำหนักตัวมันเองถึง 3 เท่า ดังนั้นการเพาะเลี้ยงหมึกเหล่านี้ จึงอาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ในปัจจุบันถูกคุกคามอยู่แล้วได้ไม่ยากเลย

นับว่ายังคงเป็นโชคดีของโลกมากที่ในปัจจุบัน แม้ว่าความต้องการในการทานหมึกยักษ์จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การเพาะเลี้ยงหมึกยักษ์นั้นดูเหมือนว่าจะยังพัฒนาออกมาได้ไม่ดีนัก ดังนั้นเรายังมีเวลาที่จะหยุดยั้งอุตสาหกรรมเหล่านี้

 

 

และก็ไม่แน่เหมือนกันว่าหนทางที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะพอทำได้ ก็คงไม่พ้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการลดการบริโภคหมึกยักษ์ลง เพื่อลดความต้องการสร้างฟาร์หมึกยักษ์นั่นเอง

 

ที่มา issues, sciencealert, weforum


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น